การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

พัฒนาการลูกวัยเบบี๋ 3 เดือน

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ก้าวสำคัญพัฒนาการลูกน้อย

พัฒนาการเด็กในช่วง 3 เดือนแรกจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยสังเกตเสมอ เพื่อเข้าใจพัฒนาการลูกน้อย เพื่อการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยว่ เช่น การเฝ้าดูถึงพัฒนาการที่ค่อยๆ มีการปรับตัวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวลูก และในกรณีนี้ คือพัฒนาการเด็กในวัย 3 เดือน โดยทั่วไป พัฒนาการเด็ก 12 เดือนแรกของทารกตัวน้อย ต้องเรียกว่าเป็น “ปีแห่งการสร้างรากฐานชีวิต” และก้าวสำคัญก้าวแรกของการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กทารกวัย 3 เดือน ที่คุณแม่ต้องจับตาดู ซึ่งจะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือพัฒนาการทางร่างกาย และทางสมองค่ะ

การเจริญเติบโตของเด็กทารก 3 เดือน

พัฒนาการลูกผ่านมาเดือนที่ 3 มาเริ่มสังเกตที่การเติบโตทางร่างกายของเจ้าตัวน้อยก่อนนะคะ ด้วยกล้ามเนื้อที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้น พอได้ 3 เดือน เค้าจะเริ่มใช้มือลูบคลำสิ่งของเป็น และเอามือเข้าปาก ลองยื่นของเล่นให้สิคะ ลูกน้อยจะจับได้ละ และยิ่งถ้าให้ของเล่นแบบเขย่าเสียงดังละก็ จะคว้าทันที

พัฒนาการเด็กทางด้านสมอง

พัฒนาการทางสมองของเด็กทารกวัย 3 เดือนนั้น คุณแม่จะสังเกตว่าเจ้าตัวน้อยเริ่มจำหน้าคุณแม่ได้มากขึ้นแล้ว เอาเป็นว่าถ้าลูกติดคุณแม่ อาจจะเริ่มโยเยร้องตาม และช่วงวัยนี้ละค่ะ เมื่อมีใครยิ้มให้เค้าจะยิ้มตอบเป็นบางทีจะได้ยินลูกน้อยส่งเสียงพึมพำงึมงำในลำคอ เมื่อได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ เหมือนอยากจะคุยด้วย เริ่มจ้องหน้าเป็น มีการหันมองตามหน้าคน หรือถ้าเห็นของเล่นสีสันสดใส หรืออะไรเป็นประกายแวววาวก็จะมองตามพัฒนาการทารกต่างๆ เหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตให้เป็นไปตามวัยนะคะ และต้องช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างเหมาะสมในทุกช่วงวัย เพราะจะเป็นพื้นฐานที่ดีสู่อนาคตไปตลอดชีวิตของลูก

การให้นมเด็กวัย 3 เดือน

เด็ก 3 เดือนจะเริ่มดูดนมแม่เก่งมากขึ้น แม่ควรให้ลูกดูดนมให้หมดเป็นเต้าไป เพราะลูกจะได้ทั้งหัวน้ำนมใสๆ และน้ำนมท้ายเต้า เพื่อลดอาการท้องอืดและแหวะนม แม้ลูกจะดื่มนมแม่มาตลอดที่ผ่านมา และยังถ่ายบ่อยถ่ายเหลว มีเนื้ออุจจาระที่อ่อนนุ่ม แต่ลูกน้อยจะเริ่มถ่ายเป็นเวลามากขึ้น จะดีมากถ้าแม่จดบันทึกเวลาในการขับถ่ายของลูก เพื่อให้รู้ตารางเวลาแน่นอนในการเปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อป้องกันไม่ให้ก้นลูกสัมผัสกับอุจจาระ หรือปัสสาวะนานไปจนเกิดผื่นผ้าอ้อม หรืออาจจะใช้ผ้าอ้อมที่มีแถบวัดความเปียกชื้นช่วยให้คุณแม่ได้ทราบเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับเด็กวัยนี้ได้ง่ายขึ้น

การสื่อสารของลูกวัย 3 เดือน

โดยปกติแล้วตามพัฒนาการเด็กวัย 3 เดือนจะเริ่มชอบเล่นกับพ่อแม่มากที่สุด และเริ่มแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจนกว่าเดือนก่อน เมื่อเด็กเริ่มเข้า 3 เดือน จะแสดงอารมณ์ออกมาชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ดีใจ โกรธ หงุดหงิด อยากรู้ หรือสงสัย และการช่างคุยด้วยภาษาอ้อแอ้ และเริ่มเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเป็นด้วย

ข้อควรระวัง และการเลี้ยงดูเด็กทารกวัย 3 เดือน

  1. เมื่อคุณแม่อุ้มพาดบ่า ทารกน้อยเค้าจะยกศีรษะได้ หรือขณะนอนคว่ำก็จะยกศีรษะขึ้นและเชิดหน้าอกได้เอง หรือที่ภาษาแม่ๆ เราเรียกกันว่า ลูกเราคอแข็งแล้ว
  2. เด็ก 3 เดือนจะเริ่มโบกแขนไปมาได้ ใช้ขาในการเตะถีบได้ และจะเริ่มมองตามคน หรือสิ่งของที่กำลังเคลื่อนไหวได้อีกด้วย เพื่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก
  3. พ่อแม่ควรเล่นกับลูก สื่อสารกับลูก อุ้มลูกให้มากขึ้นในวัยนี้ เพื่อพัฒนาการที่ดี
  4. ใช้ผ้าอ้อมที่มีแถบวัดความเปียกชื้น ช่วยให้คุณแม่ได้ทราบเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้องกันผดผื่นคัน

กระตุ้นพัฒนาการเด็กทางสติปัญญาและพฤติกรรมเด็ก

  1. ใช้มือสัมผัสลูบคลำสิ่งของและเอามือเข้าปาก
  2. จับของเล่นหรือของเล่นแบบเขย่าเสียงดังที่ยื่นให้
  3. ยกศีรษะขึ้นเมื่ออุ้มพาดบ่า
  4. ยกศีรษะขึ้นและเชิดหน้าอกขณะนอนคว่ำ
  5. โบกแขนไปมาและใช้ขาเตะถีบ
  6. เริ่มจำหน้าคุณได้
  7. เมื่อมีใครยิ้มให้จะยิ้มตอบ
  8. ส่งเสียงพึมพำงึมงำในลำคอเมื่อได้ยินเสียงคุณ
  9. จ้องหน้าและหันมองตามหน้าคนและของเล่นสีสันสดใสหรือเป็นประกายแวววาว

รู้หรือไม่? พัฒนการลูกน้อยวัย 12 เดือนแรกสำคัญที่สุด

อย่าลืมว่า พัฒนาการเด็กในช่วง 12 เดือนแรกของชีวิตทารกเป็น “ปีแห่งการสร้างรากฐานชีวิต” เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการวางรากฐานสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีไปตลอดชีวิต โภชนาการที่ดีในช่วงเวลานี้ไม่เพียงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อลูกน้อยเท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานอีกด้วย เนื่องจากเป็นหลักประกันว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยจะดำเนินไปอย่างสมบูรณ์และลูกน้อยจะมีสุขภาพที่ดีไปตลอดชีวิต

ความรู้เกี่ยวกับลูกน้อยในหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณแม่วางรากฐานที่ดีให้กับลูกน้อยได้

  1. .การเจริญเติบโตและพัฒนาการทารกในช่วงขวบปีแรก
  2. อาหารการกินสำหรับลูกน้อย
  3. อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญสำหรับลูกน้อย
  4. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการทั่วไป
Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x