การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ลูกน้อยวัย 9 เดือนทานอาหารอะไรได้บ้าง?

ลูกน้อยวัย 9 เดือน มีอะไรให้ลูกทานอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง

เมื่อเด็กเริ่มวัย 8-9 เดือน มันคือการก้าวเข้าสู่วัยที่ลูกเริ่มจะไม่หยุดนิ่ง เริ่มขยับตัวมากขึ้น ซุกซนอยากรู้อยากเห็น และกระฉับกระเฉงมากขึ้น พร้อมกับร่างกายที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักกังวลว่าลูกน้อยควรจะทานอาหารชนิดใหม่ๆ ที่ควรปรับเปลี่ยนให้เด็ก 8-9 เดือนทานน่าจะมีอะไรบ้าง

โดยปกติแล้วเด็ก 8 เดือน 9 เดือนนี้มักแสดงพัฒนาการและมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายที่เป็นก้าวสำคัญ ซึ่งสัมพันธ์กับอาหารการกินเป็นอย่างมาก ดังนั้นพ่อแม่จะเข้าใจมากขึ้น ว่าเด็ก 8-9 เดือนควรทานอะไร เมื่อได้ดูพัฒนาการลูกน้อยวัย 8-9 เดือนกันก่อน

ก่อนให้อาหารเด็กวัย 6-9 เดือน ควรเข้าใจพัฒนาการทางด้านร่างกายลูกก่อน

เด็ก 6-9 เดือน ฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบแข็งมากขึ้น มีพัฒนาทักษะการหยิบจับแบบคีบของ ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยสามารถหยิบของต่างๆ ได้เอง เช่น หยิบอาหารกินเล่น ด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ดื่มจากถ้วยหัดดื่มเป็น

ลูกน้อยวัย 6-9 เดือน มีอะไรให้ลูกทานอะไรเพิ่มเติมได้บ้าง

คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตเห็นว่า ร่างกายมีการเติบโตที่สัมพันธ์กับความต้องการอาหารเพิ่มเติมใช่ไหมคะ ซึ่งเราก็มีคำแนะนำการเตรียมลักษณะอาหารให้เหมาะกับพัฒนาการมาฝาก ดังนี้ค่ะ

การหุงต้มและเตรียมอาหารเด็ก 6-7 เดือน

ผสมให้เข้ากัน/กรองผ่านตะแกรงเพื่อความเหลว และพอเริ่ม 7 เดือนค่อยบดละเอียด

ความหยาบละเอียดของอาหารเด็ก 6-7 เดือน

อาหารบดเหลวที่มีความหนืด พอเริ่ม 7 เดือนค่อยเริ่มหยาบเล็กน้อยได้

การหุงต้มและเตรียมอาหารเด็ก 8-9 เดือน

บดละเอียด หรือนึ่งจนนิ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ

ความหยาบละเอียดของอาหารเด็ก 8-9 เดือน

พอเริ่ม 8 ขวบ อาหารมีเนื้อสัมผัสหยาบแข็งเป็นก้อนมากขึ้นได้แล้ว และพอเริ่ม 9 เดือน สามารถเป็นอาหารที่หยิบกินเล่นได้

นอกจากนั้น้ พอถึง 8 เดือน ลูกน้อยควรกินนมแม่ และอาหารเสริม 2 มื้อ ควบคู่กับการกินนมนะคะ โดยเรามีตัวอย่างการเตรียมอาหารมาแนะนำ ดังนี้ค่ะ

อาหารเสริมสำหรับเด็ก 8-9 เดือน

- นม (นมแม่หรือนมดัดแปลงสำหรับทารก) วันละ 4-5 ครั้ง โดยเฉลี่ย รวมวันละ 25-30 ออนซ์

- อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็กๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น หรือมันฝรั่ง

- พืชผักผลไม้ที่คละสีสัน มีความหยาบ/ละเอียด และกลิ่นรสเพื่อให้มีความหลากหลาย เช่น ผักผลไม้หั่นนิ่มที่สามมารถถือทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม เป็นต้น

- อาหารที่มีโปรตีนสูงแต่อ่อนนุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนสลับกันไป

Q: ลูกไม่ชอบกินข้าว กินแต่ขนมเค้ก ชีส และนม วันละ 40 ออนซ์ ท้องผูกมาก?

A: อาจเป็นเพราะน้องได้รับอาหารประเภท เนย นม ชีส เค้ก ของมัน มากไปค่ะ อาหารเหล่านี้ผ่านลงไปในลำไส้ใหญ่ช้า อุจจาระมักแข็งทำให้ขับถ่ายยาก แนะนำปรับเรื่องอาหาร เด็กวัย 1 ปีขึ้นไปควรทานข้าวรเป็นอาหาหลัก 3 มื้อ ครบ 5 หมู่ และทานนมเป็นตัวเสริม 3 แก้วหรือ 3 กล่อง ประมาณ 20-24 ออนซ์ต่อวันค่ะ เสริมอาหารที่มีกากใย ได้แก่ ผัก ผลไม้ เช่น มะละกอ แก้วมังกร

ตารางปริมาณอาหารเด็ก 8-9 เดือน

ด้านล่างนี้ เป็นปริมาณอาหาร* แนะนำ เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนอาหารใน 1 วันสำหรับเด็ก 8-9 เดือนค่ะ

ความหยาบละเอียด: อาหารบด สับละเอียด หรือครูด และอาหารหยิบทานเล่นได้

- นม - วันละ 4-5 ครั้งหรือ ประมาณ 25-30 ออนซ์

- ข้าว - ข้าวหุงนิ่ม 5 ช้อนกินข้าว

- ไข่และเนื้อสัตว์ - ไข่ทั้งฟองและเนื้อสัตว์ต่างๆ บด 2 ช้อนกินข้าว (เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่)

- ผัก - ผักหั่น 2 ช้อนกินข้าว (พืชผักกลิ่นรสแรงมากขึ้น (เช่น ต้นหอม บร็อคโคลี) ถั่วลันเตา มะเขือเทศ พืชผักที่มีลักษณะเป็นแท่ง เช่นแครอท)

- ผลไม้ - ผลไม้สุก 2-3 ชิ้น เช่น มะละกอสุก 3 ชิ้น หรือ กล้วยน้ำว้าสุก 1 ผล

- ไขมัน - ใช้น้ำมันพืช 1ช้อนชา ทำให้ความหยาบของอาหารมีเนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม ไม่แข็งกระด้างจนเกินไป เพื่อให้ทารกฝึกทักษะการเคี้ยวและกลืน

คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามคำแนะนำอาหารเด็ก 8- 9 เดือนนี้ดูนะคะ โดยต้องสังเกตควบคู่กันด้วยว่า ลูกน้อยกำลังได้รับอาหารอย่างเพียงพอหรือไม่ โดยการวัดส่วนสูงและน้ำหนักเป็นประจำ และปรึกษาแพทย์หากไม่อยู่ในเกณฑ์นะคะ

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x