การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

คำถาม-คำตอบยอดฮิต เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของลูกรัก

Q: ในหนังสือบางเล่ม บอกว่าการให้ลูกทานอาหาร จะช่วยฝึกพัฒนาการด้านการพูดได้ด้วย จริงหรือไม่ และเป็นอย่างไร?A: จริงค่ะ เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ทานอาหารและพูดเป็นกล้ามเนื้อเดียวกัน เมื่อลูกเริ่มทานอาหารเสริมตามวัย เขาจะเริ่มฝึกการเคี้ยวโดยใช้ลิ้นดุนอาหารไปยังเหงือกเพื่อบดอาหารให้ละเอียด เมื่อโตขึ้นก็เริ่มเรียนรู้การใช้ลิ้นและริมฝีปากร่วมกันในการดันอาหาร และเริ่มเคี้ยวเป็น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อพัฒนาการด้านการพูด เพราะเสียงที่เปล่งออกมาก็เกิดจากการใช้ปลายลิ้นทั้งนั้น ลูกเรียนรู้การเปิดปากกว้าง การเคี้ยว การกลืน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของพัฒนาการทางการพูด ดังนั้น การให้อาหารลูกน้อยจึงเป็นการบริหารการใช้ริมฝีปาก ขากรรไกรและลิ้น เป็นการเตรียมตัวเบื้องต้นสำหรับศิลปะในการออกเสียงในอนาคต

Q: เริ่มให้ลูกทานอาหารอ่อนตอนช่วง 4-6 เดือน จะช้าไปหรือมีผลต่อพัฒนาการด้านภาษาของลูกไหม?
A: ควรเริ่มอาหารเสริมตามวัยเมื่อลูกอายุได้ 6 เดือนค่ะ แต่เด็กแต่ละคนก็มีความต้องการช้าเร็วต่างกันไป การให้อาหารเสริมตามวัยหลังจาก 6 เดือนไม่ได้มีผลต่อพัฒนาการด้านการใช้ภาษาของลูกโดยตรงเท่าไหร่นัก แต่ถ้าลูกเรียนรู้การเคี้ยวช้า หรือยังคงดูดนมจากขวดอยู่ ลูกอาจจะมีปัญหาเรื่องการออกเสียงในตอนโตได้
อาหารเหลวสามารถช่วยพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อริมฝีปากและลิ้น อาหารอ่อนจะช่วยส่งเสริมการฝึกเคี้ยว หากยังคงให้ลูกทานซุปข้น อาจทำให้ลูกเรียนรู้การเคี้ยวได้ช้าลง


Q: ทำอย่างไรถึงจะทำให้ลูกรู้สึกว่าเวลาทานอาหารเป็นช่วงเวลาที่น่าสนุก?
A: คุณควรใช้เวลาอาหารเป็นช่วงที่อยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก ได้เล่น หยอกล้อ พูดคุยกัน ในบรรยากาศสบายๆ ไม่ควรบังคับให้ลูกกินหรือต้องกินจนหมด คุณแม่และคุณพ่อควรใช้เวลาในการให้อาหารเสริมตามวัยของลูกเป็นโอกาสที่จะได้ สื่อสารกับลูก สอนการใช้ภาษาให้แก่ลูกผ่านการตั้งชื่ออาหารต่างๆ หรือสอนลูกให้เคี้ยวและกลืนเป็น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของพัฒนาการด้านการพูดค่ะ

Q: คุณพ่อคุณแม่ควรจะมีวิธีพูดกับลูกอย่างไร เพื่อจะช่วยฝึกให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดี?
A: คุณพ่อคุณแม่ควรเป็นแบบอย่างที่ดี คือ

- พูดเสียงดัง ฟังชัด ออกเสียงให้ชัดเจนและถูกต้องช้าๆ
- ส่งเสริมและให้กำลังใจด้วยการพูดและแสดงสีหน้าท่าทางที่มากกว่าปกติให้ลูกฟัง
- ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลและอ่อนหวาน
- ใช้ประโยคง่ายๆ พูดกับลูก เช่น ลูกช่วยเอาแก้วให้คุณพ่อหน่อยได้ไหมจ๊ะ
- เลี่ยงการใช้ภาษาแบบเด็กๆ เมื่อลูกอายุมากกว่า 1 ปี
- ให้ความสนใจและใส่ใจในสิ่งที่ลูกพูด สื่อสารและตื่นตัวกับสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเสมอ
- ให้คำชมแก่ลูก
- โต้ตอบอย่างเป็นธรรมชาติและเป็นประโยคที่สมบูรณ์
- สำคัญที่สุดคือพยายามทำทุกอย่างดังกล่าวให้เป็นเรื่องสนุก

Q: เราควรกังวลเฉพาะเมื่อลูกของเขามีพัฒนาการทางภาษาช้ามากกว่าจะไปเปรียบเทียบกับลูกคนอื่นใช่หรือไม่?
A: แม้ว่าจะมีมาตรฐานด้านพัฒนาการว่าในแต่ละช่วงอายุ เด็กควรจะทำอะไรได้บ้าง แต่จริงๆแล้วในแต่ละช่วงอายุก็มีพัฒนาการอะไรหลายๆอย่างต่างกันไป พัฒนาการแต่ละอย่างนั้น เด็กต้องใช้เวลาในการลำดับการเรียนรู้ และเด็กแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันในการพัฒนาตามความรู้สึกของแต่ละคนค่ะ
ภาษาคือ ความเข้าใจและการใช้คำ ในความเป็นจริง ภาษาของเด็กนั้นเรียนรู้ตั้งแต่เกิด และทุกอย่างจะพัฒนาเมื่อถึงเวลาของมัน เด็กบางคนอาจพัฒนาได้เร็วกว่าคนอื่น แต่บางคนอาจช้ากว่าคนอื่นก็ได้ ลองมาดูตัวอย่างว่าเด็กวัยใด ควรมีพัฒนาการอย่างไรบ้างค่ะ

0-12 เดือน
- พึมพำ (มัม ป้อ หม่ำ)
- เลียนแบบเสียงสิ่งต่างๆ (บรื๊นนน ซึ่งเป็นเสียงรถยนต์)
- ทำคลื่นหรือปรบมือหากมีคนเรียกร้อง

12-18 เดือน

- เริ่มชี้เรียกชื่อสิ่งของ
- เริ่มพูดคำเดี่ยวๆ เช่น แมว นม

18-24 เดือน
- พูดหลายๆ คำ
- ผสมคำเข้าด้วยกัน เช่น หิวนม
- ฟังเรื่องเล่าสั้นๆ จากพ่อแม่
- เข้าใจคำถามง่ายๆ เช่น กล้วยอยู่ไหน

2-3 ปี
- เริ่มใช้ 3-5 คำ ต่อประโยค
- บอกคุณว่าเขากำลังทำอะไรอยู่
- ถามคำถาม
- เข้าใจความหมายต่างๆของคำ เช่น ใหญ่ เล็ก ใน นอก ใต้

Q: จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีพัฒนาการทางการใช้ภาษาที่ช้ากว่าปกติ?
A: ถ้าลูกใช้เวลาในการเรียนรู้การคลาน การเดิน การกินอาหารเหลวช้า ก็อาจมีพัฒนาการทางการพูดช้าไปด้วย แต่ถ้าลูกเข้าใจสิ่งที่พ่อแม่บอก และทำตามได้ ชี้บอกได้ว่าต้องการอะไร แสดงว่าลูกอาจจะมีพัฒนาการทางการพูดช้าและอาจมีพัฒนาการสมบูรณ์เมื่อโตขึ้นค่ะ
แต่หากลูกไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่พ่อแม่ขอให้ทำ และไม่สามารถเลียนแบบหรือจดจำเสียงต่างๆ ได้เลย และเวลาได้ยินเสียงดังๆ ลูกก็ไม่รู้สึกตกใจ คุณแม่ควรพาลูกไปรับการตรวจการได้ยิน เพราะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการการพูดค่ะ

เด็กควรจะสามารถเข้าใจบทสนทนาจากคนแปลกหน้าได้เมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป หากลูกมีปัญหาในเรื่องนี้ ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพูดและฟังสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ เพื่อช่วยพัฒนาต่อไปค่ะ

Q: มีกิจกรรมหรือการออกกำลังกายใดบ้างที่สามารถช่วยให้ลูกพูดหรือเปล่งเสียงได้ชัดเจน?
A: หากลูกพูดไม่ชัด ลองให้ลูกทำท่าทางเป่าของ ดูดของหรือเคี้ยวของ เพราะจะช่วยฝึกกล้ามเนื้อรอบๆ ปาก ที่มีผลต่อการพูด ส่งเสริมให้ลูกเล่นเป่าลูกโป่ง ฟองอากาศ หรือเศษกระดาษทิชชู่ นอกจากนี้ อาจฝึกให้ลูกดูดน้ำจากหลอด และให้เค้าลองเคี้ยวอาหารดู ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดและฟัง เพื่อให้ลูกได้รับการรักษาและฝึกฝนหากเขามีปัญหาในเรื่องพัฒนาการทางการพูดและการใช้ภาษาจริงๆค่ะ

Q: มีเทคนิคดีๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการพูดของลูกบ้างไหม?
A: คุณพ่อและคุณแม่ควรพูดหรือร้องเพลงให้ลูกฟังขณะอาบน้ำ แต่งตัว หรือป้อนอาหาร ใช้น้ำเสียงที่หลากหลายแสดงสีหน้าและท่าทางต่างๆ จะช่วยพัฒนาพื้นฐานการพูดของลูกได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ควรให้รางวัลเมื่อลูกพูดคำใหม่ๆ ได้ โดยให้คำชม กอด หรือจูบซักฟอด ก็จะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีกำลังใจในการพูดค่ะ​

​​​​​

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x