การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ความจริงเรื่องลูกน้อยกินยาก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

“ลูกฉันเป็น เด็กกินยาก ไม่ยอมกินข้าว เลือกกินตลอดเลย!” เรามักจะได้ยินพ่อแม่หลาย ๆ คน บ่นด้วยความหนักใจเช่นนี้อยู่บ่อยครั้ง

เพราะปัญหา เด็กกินยาก คือฝันร้ายของคุณแม่ ที่นอกจากจะต้องรับมือกับอาการงอแงไม่ยอมกินข้าวของลูกแล้ว ยังต้องเป็นกังวลในเรื่องสุขภาพของเจ้าตัวน้อยอีกด้วย เพราะการเลือกรับประทานอาหารนั้นส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กโดยตรง ทั้งความฉลาด, ระบบขับถ่ายและการเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนถูกต้องตามหลักโภชนาการและหากพวกเขาติดนิสัยนี้ไปจนโตโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ด้วยค่ะ

สาเหตุการกินยากของเด็กมีหลากหลาย โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยเช่น ไม่หิวเนื่องจากมีการกินจุกจิกระหว่างมื้อหรือเว้นระยะของอาหารแต่ละมื้อสั้นเกินไป ต่อต้านเพราะถูกบังคับให้กิน มีสิ่งเร้ารอบตัวหรือกำลังสนใจเล่น เป็นต้น พฤติกรรมการกินและการเติบโตที่สมวัย ของเด็กจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างพ่อแม่และเด็ก โดยที่พ่อแม่ทำหน้าที่จัดการเรื่องอาหารที่เหมาะสมตามวัยและสร้างบรรยากาศการกินอาหารที่ดีให้กับเด็ก ส่วนตัวเด็กจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบการกินว่าจะกินมากน้อยเท่าไรในแต่ละมื้อ

มีคำแนะนำสำหรับพ่อแม่เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมมาฝากค่ะ

1.   ควรสังเกตเห็นหรือทราบว่าลักษณะใดของลูกที่เป็นการส่งสัญญาณว่าหิวหรืออิ่ม

2.   เตรียมอาหารในลักษณะที่ลูกชอบ แต่เหมาะสมและได้สัดส่วนในแต่ละวัยของลูก

3.   นำเสนออาหารชนิดใหม่ๆ มาให้ลูกโดยที่อาจต้องลองซ้ำๆหลายสิบครั้งก่อนที่ลูกจะยอมรับ

4.   นั่งกินอาหารให้เป็นที่ ไม่ควรมีสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กวอกแวก เช่น โทรทัศน์ หรือสื่อผ่านจอต่างๆ

5.   สร้างบรรยากาศการกินที่เป็นมิตร สบายๆ เป็นภาวะปกติ หลีกเลี่ยงการ ดุ ขู่หรือ บังคับ

6.   ใช้เวลาในการกินอาหารแต่ละมื้อประมาณ 30 นาที กินได้เท่าไรก็เท่านั้น

7.   ให้โอกาสหรือสนับสนุนให้เด็กได้กินด้วยตนเอง

8.   ลูกกำลังพัฒนาทักษะการกิน ต้องยอมรับว่าลูกจะกินหกเลอะเทอะ (ภายใต้พื้นที่ที่พ่อแม่กำหนด)

9.   เลิกนมมื้อดึกเมื่อลูกอายุ 6-9 เดือน และเมื่อลูกอายุ 9-12 เดือนควรฝึกลูกให้ดื่มน้ำและนมจากแก้ว หรือดูดหลอดเพื่อการเลิกใช้ขวดนมที่อายุ 1-1½ ปี

ที่มา คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x