การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก
การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก
และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้
เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี ขึ้นไป ควรทานอาหารหลัก 3 มื้อ สารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ แต่เป็นอาหารที่รสไม่จัดและไม่ควรเติมสารปรุงแต่งใดๆ อาหารของลูกน้อย 1 มื้อควรมีข้าวสวยนิ่มๆ เพิ่มโปรตีนโดยการเติมไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ เติมผักใบเขียวหรือผักสีส้มเหลือง เพื่อเสริมวิตามินและแร่ธาตุ ประกอบอาหารโดยวิธีผัด ทอด หรือทำเป็นแกงจืด สร้างบรรยากาศให้ลูกได้ลองทานอาหารใหม่ๆ โดยให้ลูกใช้ช้อนตักอาหารทานด้วยตนเอง ฝึกให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยสอนบ่อยๆ เช่น ประโยชน์ของผัก-ผลไม้ ให้วิตามินและแร่ธาตุ เนื้อปลาให้โปรตีนทำให้ร่างกายแข็งแรง ลูกก็จะเริ่มเรียนรู้และมีนิสัยการบริโภคที่ดีต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสมอง
โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย นอกจากนั้น ยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ อาหารที่ให้โปรตีนคือไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลา หมู ไก่ หรืออาจให้อาหารที่เป็นถั่วต้มเปื่อยต่างๆ เต้าหู้ ฯลฯ ที่ใช้ทดแทนอาหารเนื้อสัตว์ในบางมื้อ
โอเมก้า3 และ ดีเอชเอ (DHA) ช่วยในการพัฒนาของสมองและดวงตา พบมากในปลาทะเลน้ำลึกและปลาที่มีไขมันสูง รวมถึงปลาทะเลและปลาน้ำจืดของไทยบางชนิด เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาดุก ปลาทูและปลาสวาย เป็นต้น แหล่งอาหารอื่นๆ ได้แก่ ไข่แดง
แคลเซียม ช่วยสร้างและบำรุงรักษากระดูก รวมทั้งจำเป็นสำหรับการสร้างฟันน้ำนมที่ผุดขึ้นมาทีละซี่จนครบ ทั้งหมด 20 ซี่เมื่ออายุ 3 ปี อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมและ ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว งา เต้าหู้และปลาตัวเล็กตัวน้อย
ธาตุเหล็ก ช่วยให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไข่แดง การรับประทานอาหาร ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง และส้ม ร่วมด้วยในมื้ออาหาร จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กที่มีอยู่ในพืชได้ดีขึ้น
โปรตีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย นอกจากนั้น ยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ อาหารที่ให้โปรตีนคือไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อปลา หมู ไก่ หรืออาจให้อาหารที่เป็นถั่วต้มเปื่อยต่างๆ เต้าหู้ ฯลฯ ที่ใช้ทดแทนอาหารเนื้อสัตว์ในบางมื้อ
โอเมก้า3 และ ดีเอชเอ (DHA) ช่วยในการพัฒนาของสมองและดวงตา พบมากในปลาทะเลน้ำลึกและปลาที่มีไขมันสูง รวมถึงปลาทะเลและปลาน้ำจืดของไทยบางชนิด เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาดุก ปลาทูและปลาสวาย เป็นต้น แหล่งอาหารอื่นๆ ได้แก่ ไข่แดง
แคลเซียม ช่วยสร้างและบำรุงรักษากระดูก รวมทั้งจำเป็นสำหรับการสร้างฟันน้ำนมที่ผุดขึ้นมาทีละซี่จนครบ ทั้งหมด 20 ซี่เมื่ออายุ 3 ปี อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นมและ ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียว งา เต้าหู้และปลาตัวเล็กตัวน้อย
ธาตุเหล็ก ช่วยให้มีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์แข็งแรง ป้องกันโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้แข็งแรง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ เลือด ไข่แดง การรับประทานอาหาร ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง และส้ม ร่วมด้วยในมื้ออาหาร จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กที่มีอยู่ในพืชได้ดีขึ้น
ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.