การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

พัฒนาการของลูกน้อยวัยหัดเดิน

การให้นม...ยังจำเป็นหรือไม่?

ความต้องการทางโภชนาการของลูกน้อยวัยหัดเดินค่อนข้างแตกต่างจากของผู้ใหญ่มาก นมยังจำเป็นสำหรับเด็กวัยนี้เพื่อการเจริญเติบโต ลูกวัยหัดเดินนั้นต้องการอาหารที่ได้สัดส่วน 3 มื้อเล็กๆ ต่อวัน โดยมีของว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการระหว่างมื้ออย่างสม่ำเสมอด้วย คุณแม่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องสุขภาพและอาหารที่ได้สัดส่วนของลูกน้อยวัยหัดเดินได้ในหัวข้อ การหย่านม

พัฒนาการของลูกน้อยของคุณมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในช่วงวัยนี้?

นอกจากพัฒนาการในการรับรู้รสชาติ ความชอบอาหารประเภทต่างๆและรสสัมผัสใหม่ๆแล้ว ลูกวัยนี้ยังมีพัฒนาการด้านการสำรวจ การพูดและการเรียนรู้อีกด้วย

การแสดงออก

หลังจากเดินเตาะแตะไม่นาน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในการเดิน วิ่ง และกระโดดโลดเต้นไปมา เมื่อใกล้ครบสองขวบคุณจะเริ่มสังเกตเห็นว่าลูกถนัดมือซ้ายหรือมือขวาได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากลูกจะชอบใช้ข้างที่ถนัดในการขีดเขียน เตะบอลและหยิบอาหาร นอกจากนี้ ลูกยังแปรงฟันได้ด้วยตัวเอง โดยอาจมีคนคอยช่วยดูแลอยู่ข้างๆ เมื่อลูกมีทักษะการเคลื่อนไหวดีขึ้น ลูกจะยิ่งกระตือรือร้น ปีน กระโดด และวิ่งไปมามากขึ้น ซึ่งเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี ดังนั้นคุณแม่จึงควรหาอาหารที่ให้พลังงานและคุณค่าสารอาหารเพียงพอแก่ลูกในแต่ละวัน

นักสำรวจตัวน้อย

ในช่วงวัย 12-18 เดือน ลูกน้อยวัยหัดเดินยังรู้จักคำศัพท์เพียงไม่กี่คำและบางครั้งไม่สามารถแสดงความรู้สึกของตัวเองหรือบอกให้รู้ในสิ่งที่ต้องการได้ ดังนั้นจึงอาจมีอารมณ์เกรี้ยวกราดและโมโห ลูกจะเริ่มรู้จักตัวเองมากขึ้น โดยเรียกต้วเอง “หนู” หรือชื่อของตัวเอง เริ่มทำความเข้าใจถึงคำว่าแบ่งปัน ชอบที่จะอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะเล่นรวมกลุ่มกับเพื่อน

การพูด

ทักษะการสื่อสารของลูกจะดีขึ้น โดยคำต่างๆที่เขาพูดจะค่อยๆพัฒนาเป็นวลีและเป็นการร้องขอ ลูกอาจยังไม่ค่อยใช้คำหลายๆ คำ เพราะในช่วงวัยนี้ลูกจะ “เข้าใจ” มากกว่าที่จะสามารถ “พูด” ได้ และแทนที่จะใช้ประโยคที่สมบูรณ์ ลูกจะเริ่มจากการใช้คำคำเดียวเพื่ออธิบายในสิ่งที่ลูกต้องการ เช่น ‘ถ้วย’ แทนคำว่า ‘หนูอยากได้ถ้วย’ แล้วในที่สุดลูกน้อยก็จะเริ่มผสมคำสองคำเข้าด้วยกัน อย่างเช่น ‘เล่นหนู’ เมื่อลูกต้องการให้คุณเล่นกับลูก และลูกจะเริ่มฟังอย่างตั้งใจมากในสิ่งที่คุณพูด และเป็นไปได้ที่ลูกเริ่มต้องการฟังเพลงกล่อมเด็กและเพลงต่างๆ

การเรียนรู้

ลูกมีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และมีการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองที่มากขึ้น ดังนั้นจึงอาจต้องการมีอำนาจในการควบคุมบ้างเป็นครั้งคราว คุณแม่สามารถสนับสนุนลูกโดยปล่อยให้ลูกตัดสินใจด้วยตัวเอง เช่น เลือกเสื้อผ้าใส่เองหรือเลือกเกมที่จะเล่นและสนับสนุนให้ได้ใช้ทักษะใหม่ๆในการเคลื่อนไหว ฝึกเดินแบบต่างๆ เช่น เดินไปทางด้านข้าง เดินถอยหลัง เดินหน้า รวมถึงวิ่งและกระโดดด้วย นอกจากนี้คุณแม่ต้องระวังการแสดงออกทางหน้าตาและภาษาที่แปลกหู เพราะส่วนใหญ่แล้วลูกเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบคุณนั่นเองจนบางครั้งคุณอาจจะต้องประหลาดใจกับสิ่งที่ลูกน้อยจำและนำพูดในสถานที่และเวลาที่คุณคาดไม่ถึง

 

 

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x