การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

พัฒนาการลูกวัยเบบี๋ 2 เดือน

พัฒนาการทารก 2 เดือน และการเลี้ยงดูลูกน้อยวัยนี้
การเจริญเติบโตของทารก 2 เดือน

พัฒนาการทารก 2 เดือน มีการเติบโต และเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านที่จะเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกาย และการสนใจสิ่งรอบตัว น้ำหนักและส่วนสูงของทารกน้อย 2 เดือนจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังจะสามารถเริ่มหันมองสิ่งต่างๆ รอบตัว คุณจะเริ่มเห็นลูกเริ่มยิ้มและเริ่มสนใจส่งรอบตัวเป็นครั้งแรก นอกจากนั้นจะเริ่มเห็นลูกวัยนี้เริ่มจับสิ่งของขึ้นมาได้ ให้ระวังลูกเอาสิ่งของแปลกปลอมเข้าปาก และตรวจดูของแข็งมีคมที่พ่อแม่อาจเผลอวางไว้รอบตัวลูกน้อย

ที่สำคัญคุณอาจเริมได้ยินลูกน้อยพยายามออกเสียงอ้อ แอ้ เป็นครั้งแรก กับการเริ่มจำเสียงที่ได้ยิน ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทารกวัย 2 เดือนนี้ ดังนั้น ถือเป็นช่วงพัฒนาการของทารกที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องเริ่มพูดคุยกับลูกให้มากขึ้น

การมองเห็นของเด็กทารก 2 เดือน

ตาของลูกน้อยวัย 2 เดือนจะเริ่มเห็นแยกแยะความห่างของวัตถุ แต่ประสาทตาและหูยังไม่สัมพันธ์กัน จะสนใจในสิ่งที่เห็นมากกว่าสิ่งที่ได้ยิน เช่น การเริ่มจำใบหน้า เริ่มมองหน้าคนมากขึ้น ปฏิกิริยาตอบสนองของลูกตาทารก จะทำงานตั้งแต่แรกเกิด จะเริ่มไวต่อแสง และทำงานเต็มที่เมื่ออายุ 2-3 เดือน พ่อแม่ควรแขวนของเล่น 3 มิติ เช่น โมบาย หรือ นกกระดาษ โดยเฉพาะที่เคลื่อนไหวได้ลูกวัยนี้จะชอบมองมากกว่า และแขวนหรือวางในจุดที่ลูกน้อยสามารถมองเห็นได้บ่อย ที่ๆ สามารถใช้มือเอื้อมหยิบถึงได้จะช่วยพัฒนาสายตาได้เร็วขึ้น และอาจเปลี่ยนตำแหน่งนอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มองเห็น และจดจำมุมมอง และสภาพแวดล้อมใหม่ๆ เมื่อลูกน้อยมองหน้าและยิ้มให้ แสดงว่าลูกเริ่มจะจำคุณได้แล้ว พ่อแม่ควรหาของเล่นให้ลูกมองและจับเล่น เริ่มจากวัยนี้

เมื่อทารก 2 เดือนเริ่มรู้จักคุณแม่

เด็กทารก 2 เดือน จะเริ่มคุ้นเคยกับอ้อมกอดของแม่แล้ว และอาจส่งเสียงร้องถ้าคนที่อุ้มไม่ใช่แม่ ลูกจะแกว่งแขนถีบขาเมื่อถูกกระตุ้นหรือรู้สึกตื่นเต้น และมีความสุขกับการดูดนิ้วหรือนิ้วหัวแม่มือด้วย

การให้นมเด็กทารกวัย 2 เดือน

พัฒนาการทารกวัย 2 เดือน จะเริ่มแสดงอาการร้องหิวอย่างชัดเจน ลูกจะเริ่มกินนอนเป็นระบบมากขึ้น พ่อแม่คนเลี้ยงดูจะเริ่มสบายมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เขาจะเริ่มรู้ว่าหิวตอนไหนและร้องออกมา สิ่งที่แม่ต้องทำก็แค่ป้อนนมทุกครั้งที่ทารกให้แสดงอาการหิว

แต่ให้ระวังวัยนี้เมื่อรู้สึกว่าร้องนานผิดปกติ ตั้งแต่วัย 2 เดือนนี้ขึ้นไป ทารกบางคนจะมีชั่วโมงหงุดหงิด moody เป็นของน้องเอง เช่น ช่วงเย็น ช่วงบ่าย ช่วงค่ำ เขามักร้องไห้พร้อมกับการกลั้นหายใจ เรียกว่า “ร้องดั้น” บางครั้งร้องจนหน้าเปลี่ยนสี การให้นมหรือปลอบก็ช่วยได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น และสักพักอาจจะเริ่มร้องใหม่อีกครั้ง การร้องแบบนี้ บ่งบอกถึงความผิดปกติ ไม่สบายใจหรือไม่สบายกาย พ่อแม่ควรหาสาเหตุให้เจอ สังเกต ตรวจดู สุขภาพ อากาศและสิ่งรอบตัวของลูก ห้องร้อนไป เย็นไป ที่นอนเป็นยังไง ลูกเป็นผดผื่นอะไรหรือไม่ ฯลฯ และไม่ควรแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเพื่อให้ปัญหาผ่านๆ ไปก่อน

บางคนอาจร้องโคลิก คือการร้องติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่เด็กที่ร้องโคลิกมักไม่มีอาการเจ็บป่วยตามมา เขาจะสบายเป็นปกติหลังจากหยุดร้องไห้แล้ว คุณแม่สามารถดูคำแนะนำเกี่ยวกับการปลอบโยนทารกที่ร้องโคลิกในบทความเรื่อง การร้องโคลิก เพื่อช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น

พัฒนาการสื่อสารทารกวัย 2 เดือน

วัย 2 เดือนนี้ ทารกจะยังใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก เสียงส่วนใหญ่จะออกมาเป็นเสียงอ้อ แอ้ ฟังไม่ได้ศัพท์ แต่วัยนี้ จะเริ่มหันมอง และสนใจฟังเสียงต่างๆ และจดจำเสียงที่ได้ยิน เมื่อพ่อแม่พูดคุยกับลูกวัยนี้บ่อยขึ้น จะทำให้ลูกเริ่มอ่านริมฝีปากและหัดพูดไปด้วย

ถึงแม้ว่าลูกจะยังพูดเป็นคำไม่ได้ แต่ในวัย 2 เดือนนี้ คือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ลูกจะเริ่มสนใจสิ่งรอบตัว รวมทั้งเริ่มเรียนรู้วิธีสื่อสาร ลูกจะชอบฟังเสียงของแม่มากที่สุด และเมื่อลูกน้อยได้ยินเสียงคุณ เขาก็มักจะหันหาและส่งเสียงตอบทันที พ่อแม่ควรเริ่มหมั่นพูดคุย สื่อสารกับลูกในวัยนี้ให้มากเป็นพิเศษ และทำอย่างอ่อนโยนที่สุด เพราะลูกกำลังเริ่มหัดฟังเป็นครั้งแรก

พัฒนาการทารก 2 เดือนเริ่มค้นพบมือของตัวเอง

ปฏิกิริยาสะท้อนกลับในการกำวัตถุที่อยู่ในมือโดยอัตโนมัติเริ่มลดลง ลูกจะเริ่มสนใจกับมือ 2 ข้างที่ตัวเองเพิ่งค้นพบ และจะใช้มือทั้งสอง(รวมทั้งปาก)ในการสำรวจสิ่งของแปลกใหม่รอบๆ ตัว ดังนั้นต้องเริ่มระวังเรื่องการหยิบจับสิ่งของรอบตัว พ่อแม่ควรดูให้ดี พื้นที่บริเวณที่จะให้ทารกนอนเล่น ระวังวัสดุแข็ง มีคม อะไรก็ตาม นอกจากนั้น ร่างกายของลูกน้อยวัยนี้จะเริ่มยืดตรง หากคุณจับลูกน้อยนอนคว่ำ ในไม่ช้าลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะ และยกค้างไว้อย่างนั้นสักครู่หนึ่งได้

ข้อควรระวัง พัฒนาการทารกและการเลี้ยงดูเด็กทารกวัย 2 เดือน

  1. ระวังสิ่งของอันตรายรอบตัวลูก เพราะวัยนี้จะเริ่มหยิบสิ่งของต่างๆ
  2. ระวังเสียงดัง และการพูด เพราะวัยนี้จะเริ่มฟังเสียง จำเสียง
  3. ควรเริ่มหาของเล่นให้ลูกจับ และมองได้บ่อยๆ เพื่อพัฒนาการมองเห็นในวัยนี้

คุณรู้หรือไม่?

พัฒนาการทารกทางด้านร่างกายของลูกจะเริ่มตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า โดยอันดับแรกลูกจะฝึกกล้ามเนื้อคอ ให้สามารถยกศีรษะขึ้นจากเบาะตามด้วยไหล่ทั้งสองข้าง หน้าอก และหลังส่วนล่างและจะพัฒนาขาทั้งสองข้างเป็นอันดับสุดท้าย

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x