การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

วิธีเก็บนมแม่ เก็บอย่างไรให้ได้คุณภาพยาวนานที่สุด

วิธีเก็บนม เก็บอย่างไรอยู่ได้นานที่สุด

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากเต้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่คุณแม่อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีปั๊มนมและวิธีเก็บนมไว้ให้ลูกน้อย ไม่ว่าคุณจะเป็นคุณแม่ในช่วงให้นมลูก ที่ต้องการความยืดหยุ่นของเวลา ไม่มีเวลาเพียงพอ ต้องกลับไปทำงาน หรือต้องเดินทางบ่อย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร การเรียนรู้วิธีเก็บนมแม่ จะช่วยได้มาก สิ่งที่ต้องรู้ก่อนก็คือ วิธีเก็บนมแม่ ไม่ใช่ว่าจะเก็บได้เหมือนอาหารทั่วไป แต่คุณจะต้องรู้วิธีการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธีไม่เช่นนั้นน้ำนมแม่ที่่อุตส่าห์ปั๊มออกมาอาจเสียได้ง่ายๆ​

4 วิธีขั้นตอนเก็บนมแม่ให้คงคุณภาพนานที่สุด

  1. เตรียมตัวก่อนปั๊มนมโดยดื่มน้ำอุ่นๆล้างมือให้สะอาดและหามุมสงบผ่อนคลาย
  2. ก่อนปั๊มนมแม่เก็บไว้ แม่ควรล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดเสียก่อน หากไม่มีสบู่ และน้ำ ให้ใช้เจลทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในระดับสูง (70-90%)
  3. นวดคลึงเต้านมหรืออาจประคบด้วยน้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  4. เก็บน้ำนมที่ปั๊มเสร็จในภาชนะที่ลูกกินหมดพอดีสำหรับ 1 มื้อ ปิดภาชนะให้มิดชิด เขียนวันและเวลาปั๊ม

6 เคล็ดลับวิธีเก็บน้ำนมแม่ให้มีอายุนานที่สุด

  1. เก็บนมที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน 25 องศา นมแม่จะอยู่ได้นานไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังจากปั๊ม
  2. เก็บนมแม่แช่เย็นไว้ ที่อุณหภูมิ 2-4 องศา หรือต่ำกว่านั้น นมจะอยู่ได้นานถึง 2-5 วัน
  3. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ถ้าต้องการเก็บนมเกิน 3 วัน (ให้แช่แข็งทันทีหลังจากปั๊มน้ำนม)
  4. วิธีเก็บนมที่ถูกต้อง และปลอดภัย นอกจากเรื่องภาชนะที่สะอาดใหม่ ผู้เก็บนมควรทำฉลากวันที่ให้ชัดเจน เพื่อจะได้รู้อายุของนมแม่ที่แท้จริง
  5. น้ำนมแม่สามารถเก็บไว้ในขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือภาชนะพลาสติก และถุงพลาสติกที่ปิดผนึกได้ แม่ควรใช้ภาชนะใหม่เสมอเวลาเก็บน้ำนมใหม่ทุกครั้ง
  6. ปิดฝาภาชนะ หรือถุงใส่นมแม่ให้มิดชิด ก่อนนำนมไปเก็บในตู้เย็น

ตารางอุณหภูมิวิธีเก็บนมแม่ให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย

วิธีเก็บนมอุณหภูมิ (โดยประมาณ)อายุของนมแม่
1. เก็บในอุณหภูมิห้อง (นอกห้องแอร์)สูงกว่า 25 องศาเซลเซียสไม่เกิน 1 ชั่วโมง
2. เก็บในอุณหภูมิปกติ (ในห้องแอร์)ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส4 ชั่วโมง
3. เก็บในกระติกน้ำแข็งต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียสสูงสุด 24 ชั่วโมง
4. เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา2-4 องศาเซลเซียส2-5 วัน (เก็บไว้ใกล้บริเวณจุดที่เย็นที่สุด)
5. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูเดียว-10 ถึง -15 องศาเซลเซียส2 สัปดาห์
6. เก็บนมในช่องแช่แข็ง ของตู้เย็นแบบประตูแยก-18 ถึง -20 องศาเซลเซียส3 เดือน
7. เก็บนมในตู้แช่แข็งต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส6 เดือน

* ไม่ควรเก็บในที่ที่อุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส

วิธีนำนมที่เก็บไว้มาให้ลูกดื่มให้ได้คุณภาพ

  1. หลังการเก็บนม เมื่อนำมาใช้ ไม่จำเป็นต้องทำให้นมอุ่น แม่สามารถให้นมเมื่อนมเท่าอุณหภูมิห้อง หรือแบบเย็นเล็กน้อยก็ได้
  2. นมแช่เย็นธรรมดา เมื่อแม่นำนมแม่ที่ปั๊มระหว่างวันกลับมาให้ลูกกินในวันรุ่งขึ้น สามารถแบ่งใส่ภาชนะตามปริมาณที่ลูกกิน แล้วแช่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา
  3. นมแช่ช่องแข็ง ให้นำถุงเก็บน้ำนมมาแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดาข้ามคืน (8-12 ชั่วโมง) หากยังละลายไม่หมด สามารถนำถุงเก็บน้ำนมมาแช่ในน้ำสะอาดอุณหภูมิปกติ ประมาณ 5 นาที
  4. หนึ่งในวิธีเก็บนมที่สำคัญ คือไม่ควรนำนมแม่ไปอุ่นไมโครเวฟ และการทำละลายในน้ำร้อนจัด เพราะความร้อนที่มากไป จะไปทำลายสารอาหาร และโปรตีนที่อยู่ในนมแม่
  5. หากลูกกินนมแม่ไม่หมดขวดหรือแก้วนั้น ไม่ควรเก็บให้ลูกกินในครั้งต่อไป เนื่องจากอาจจะมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ลูกป่วยได้
  6. นมที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำไปแช่แข็งอีก

Sources:

https://www.unicef.or.th/breastfeeding/workplace/for-mom/articles/how-to-store-breast-milk
https://www.womenshealth.gov/breastfeeding/pumping-and-storing-breastmilk
https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/news-announce-info.php?num=333

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x