การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์

 

ดูแลสุขภาพให้ดีช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้

คุณควรดูแลตัวเองและเตรียมร่างกายของคุณให้พร้อมสำหรับการให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ  ส่วนคู่รักของคุณเพียงเตรียมอสุจิของเขาแข็งแรงพอที่จะวิ่งไปถึงเส้นชัย

ในการเตรียมตัวเพื่อตั้งครรภ์คุณควรตรวจสอบสุขภาพร่างกายสักเล็กน้อยดังนี้

การสูบบุหรี่:

การสูบบุหรี่เป็นการลดโอกาสการตั้งครรภ์ลงอย่างมากและเป็นอันตรายต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกอีกด้วยเพราะฉะนั้น  หากว่าคุณสูบบุหรี่ ก็ควรเลิกเสียแต่วันนี้

อาหารและการออกกำลังกาย:

 

  • ทานผักและผลไม้หลากหลายสีสันมากๆ
  • ทานอาหารประเภทแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลเกรน
  • ทานอาหารประเภทโปรตีนทุกมื้อ ปลาสัปดาห์ละสองครั้งนม ไข่ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง (เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์) เมล็ดพืชและถั่ว

วิตามินเสริม:

อาจไม่จำเป็นหากคุณรับประทานอาหารอย่างเพียงพอและเหมาะสม แต่หากต้องการทาน  ควรตรวจสอบก่อนว่าเหมาะสำหรับสตรีที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือไม่เพราะวิตามินบางอย่างอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทานมากเกินไป เช่น วิตามินเอ

กรดโฟลิค:

กรดโฟลิคช่วยป้องกันทารกจากโรคกระดูกไขสันหลังผิดปกติ ( Spina Bifida) มีอยู่ในอาหารหลายประเภท เช่น ซีเรียล กล้วย และผักใบเขียวคุณแม่ควรทานกรดโฟลิคเสริม เพราะเป็นเรื่องยากที่คุณแม่จะรับประทานอาหารให้ได้กรดโฟลิคถึง 400 ไมโครกรัมต่อวันซึ่งเป็นปริมาณที่แนะนำขณะตั้งครรภ์และควรเริ่มรับประทานโฟลิคเอซิดเสริมตั้งแต่ตอนนี้ จนถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์

การใช้ยา:

ยาบางชนิดอาจลดโอกาสการตั้งครรภ์ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หากจำเป็นต้องรับประทานยาหรือหากเคยคุมกำเนิดด้วยการใช้ห่วงอนามัยหรือยาคุมกำเนิด ควรปล่อยให้ร่างกายได้พักและปรับตัวสักสองสามเดือนก่อนจะเริ่มเตรียมตัวตั้งครรภ์ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

ความเครียด:

คุณควรพยายามทำใจให้สบายและเครียดให้น้อยที่สุด

เปิดโอกาสให้คู่รักได้มีส่วนร่วม

  • ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • ลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนให้น้อยลง
  • ผ่อนคลายและลดความเครียด
  • อยู่ห่างจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นอันตราย:เพราะสารเคมีบางอย่างมีผลกระทบต่ออสุจิ
  • ป้องกันไม่ให้ “ของสำคัญ” ร้อนและอับเกินไป:ควรใส่กางเกงชั้นในผ้าฝ้ายที่สบายตัวและกางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป

ส่งเสริมให้คนรักรับประทานอาหารที่มีประโยชน์: ทานผักและผลไม้มากๆ รวมทั้งที่มีวิตามินซีให้เพียงพอซึ่งจำเป็นต่อการผลิตอสุจิที่แข็งแรง ควรทานอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ไข่ และขนมปังข้าวไรย์ซึ่งมีแร่ธาตุสังกะสีสามารถช่วยเพิ่มความเป็นชายได้มากขึ้นและผลิตภัณฑ์จากนมที่ให้แคลเซียมเนื้อวัวและถั่วที่มีธาตุเหล็กก็ควรมีอยู่ในเมนูอาหารประจำวันด้วย

คุณรู้หรือไม่?

ผ่อนคลายและสนุกกับการเตรียมตัวดีที่สุด

คำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับคู่รักทุกคู่ก็คือผ่อนคลายและสนุกกับการเตรียมตัวมีลูกน้อยเพราะบางครั้งธรรมชาติก็ไม่ต้องการการเร่งรัดหรือกดดันมากเกินไปนักดังนั้นจะเป็นการดีอย่างยิ่ง หากคุณทั้งคู่มีสัมพันธ์รักที่ดีตลอดเดือนควรผ่อนคลายให้เป็นไปตามธรรมชาติจะดีที่สุด​

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x