การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก
การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก
และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้
สำหรับคู่รักที่ต้องการมีลูก การนับวันตกไข่จะช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกได้ ช่วงเวลาไข่ตกหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงจรการตกไข่ เป็นช่วงเวลาที่ควรมีเพศสัมพันธ์เพื่อโอกาสการตั้งครรภ์สูงสุด
การตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่ของเพศหญิงมีการปฎิสนธิในช่วงที่ตกไข่ ซึ่งช่วงที่ไข่พร้อมการผสมก็จะมีช่วงเวลาอยู่แค่ 12-24 ชั่วโมงในแต่ละเดือนเท่านั้น และแม้สเปิร์มจะสามารถอยู่รอปฏิสนธิกับไข่ได้อยู่ที่ประมาณ 2-3 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว แต่จะเป็นการดีกว่าถ้ามีเพศสัมพันธ์ในวันที่ไข่ตก และหลังจากวันที่มีการตกไข่ คุณก็จะไม่มีโอกาสตั้งครรภ์อีกจนกว่ารอบตกไข่ใหม่จะวนกลับมา
- การมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือเครียด อาจส่งผลต่อการตกไข่ได้
- สตรีที่มีประจำเดือนไม่ปกติ ไม่สม่ำเสมอ มักทำให้การนับวันตกไข่ยากกว่าปกติ
- แม้ผู้หญิงจะมีไข่เป็นล้านใบ แต่ว่าแต่ละเดือนจะมีไข่แค่ใบเดียวเท่านั้นที่ตก และจะมีอายุเพื่อรอการปฏิสนธิเพียง 12-24 ชั่วโมงเท่านั้นหลังหลุดออกมาจากถุงไข่
- ไข่ตกสามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีประจำเดือน และประจำเดือนสามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีไข่ตก
- ผู้หญิงบางคนอาจพบมีเลือดออกมาเล็กน้อยในช่วงไข่ตก
- ผู้หญิงบางคนอาจจะรู้สึกเจ็บแปลบที่บริเวณใกล้กับถุงไข่ในช่วงไข่กำลังหลุดออกมา
- ไข่ที่ไม่ได้รับการผสม จะสลายตัวและซึมเข้าไปในโพรงมดลูกเอง
และต่อไปนี้คือคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตกไข่และวิธีการนับวันตกไข่
โดยปกติ ไข่จะตกก่อนมีประจำเดือน 14 วัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงเรามักมีประจำเดือนทุกๆ 28 วัน และไข่จะตกในราววันที่ 14 ของรอบเดือนหรือครึ่งทางของ 28 วัน แต่ผู้หญิงก็อาจจะมีรอบประจำเดือนยาวนานไม่เหมือนกันได้ตั้งแต่ 23 วันไปจนถึง 33 วัน ถ้าคุณอยากรู้ว่าประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่ก็ให้จดบันทึกหรือกาลงในปฏิทินไว้อย่างน้อยประมาณ 3-4 เดือน แล้วนับดูว่าแต่ละรอบเดือน(จากวันแรกของการมีประจำเดือน ถึงวันแรกของการมีประจำเดือนอีกรอบ) มีจำนวนวันเท่ากันหรือไม่
ส่วนในกรณีที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอหรือมาไม่ค่อยตรงเวลา การคำนวณวันตกไข่ก็อาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ แต่เราก็พอจะมีวิธีสังเกตได้ว่าในวันนั้น ๆ เรากำลังอยู่ในช่วงวันตกไข่หรือไม่ โดยการสังเกตสัญญาณการตกไข่
ในช่วงใกล้วันตกไข่ หรือกำลังมีไข่ตก ผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการทางร่างกายแตกต่างกันไป การตรวจดูสัญญาณทางร่างกายจะช่วยบอกได้คร่าวๆ เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนวันที่ไข่ตกได้ด้วยตัวเองได้ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้เร็วขึ้นและง่ายขึ้น
- การสังเกตมูกที่ปากมดลูก (Cervical mucus) ระยะตกไข่ จะมีมูกที่ปากมดลูกมาก โดยมูกจะมีลักษณะใสและลื่น (คล้ายไข่ขาวดิบ) สามารถดึงยืดเป็นเส้นได้ยาวเกินกว่า 6 เซนติเมตร ทำให้ตัวอสุจิสามารถผ่านมูกนี้เข้าไปสู่โพรงมดลูกได้สะดวก การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูง
- อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยน โดยปกติแล้วร่างกายจะมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ก่อนวันตกไข่เมื่อใกล้วันตกไข่ อุณหภูมิร่างกายจะลดลงเล็กน้อย และเมื่อไข่ตกไปแล้วจะมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น การตรวจพบว่ามีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นคือสัญญาณบอกว่าไข่เพิ่งตกไป
ควรบันทึกติดต่อกันเป็นเวลาสองถึงสามเดือนเพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถคาดคะเนช่วงระยะเวลาการตกไข่ได้ โดยต้องบันทึกอุณหภูมิในเวลาเดียวกันทุกเช้าหรือต่างกันไม่เกิน 10-15 นาที ก่อนดื่มน้ำและรับประทานอาหารหรือก่อนลุกจากเตียงๆ หรือแม้แต่การพูดจา รวมไปถึงการสะบัดปรอท (ควรสะบัดปรอทให้พร้อมตั้งแต่ก่อนเข้านอนและควรวางปรอทไว้ใกล้ ๆ ตัว และพร้อมที่จะหยิบใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องลุกจากที่นอนหรือถ้าเป็นไปได้ ก็ใช้ปรอทแบบดิจิตอล)
วันตกไข่อาจจะคลาดเคลื่อนไม่เหมือนกันสำหรับผู้หญิงแต่ละคน โดยเฉพาะผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้นับวันตกไข่แม่นยำได้ยาก แต่สมัยนี้มีชุดทดสอบการตกไข่ที่สามารถตรวจหาวันตกไข่ได้แม่นยำและทำได้เองที่บ้าน ชุดทดสอบระยะตกไข่หาซื้อได้จากร้านขายยาหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป โดยในชุดทดสอบนี้จะทดสอบปัสสาวะเพื่อตรวจระดับฮอร์โมนกระตุ้นไข่ตก (Luteinizing Hormone, LH)
ดังนั้น หากใช้ชุดทดสอบการตกไข่ร่วมกับการวัดอุณหภูมิร่างกาย การนับวันตกไข่ และการสังเกตอาการทางร่างกาย ก็จะช่วยให้การตรวจหาวันตกไข่มีความแม่นยำมากขึ้น
ชุดทดสอบการตกไข่ (LH ovulation test) จะตรวจหาฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ (Luteinizing hormone – LH) ในปัสสาวะ ในภาวะปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน LH ออกมาในปริมาณน้อย จนถึงระยะก่อนเวลาไข่ตก ฮอร์โมนLHจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการตกไข่จะเกิดขึ้นภายในเวลา12-48 ชั่วโมง ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์ภายใน 48 ชั่วโมง หลังจากตรวจพบฮอร์โมน LH นี้อยู่ในระดับสูงสุด ก็จะทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
ชุดทดสอบการตกไข่ วิธีการจะคล้ายกับชุดทดสอบการตั้งครรภ์ แต่จะใช้ปัสสาวะช่วงบ่าย คือ ประมาณ บ่าย 2 โมง(เนื่องจากฮอร์โมน LH จะถูกสร้างขึ้นในช่วงเช้าและจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงช่วงบ่ายโมงไปจนถึงสองทุ่ม) ไม่ใช่ปัสสาวะตอนเช้าเหมือนการตรวจตั้งครรภ์ โดยควรจำกัดปริมาณการบริโภคของเหลวก่อนทำการทดสอบอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และเก็บปัสสาวะช่วงเวลาเดียวกันทุกวัน
ชุดทดสอบการตกไข่ จากน้ำปัสสาวะ มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ดังนี้
ในช่วงใกล้การตกไข่
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับระดับความเข้มข้นของ electrolytes ในน้ำลาย ซึ่งทำให้เกิดผลึกรูปร่างคล้ายใบเฟิร์น ดังนั้นเราจึงสามารถตรวจสอบช่วงเวลาการตกไข่ได้ เพียงแค่แตะน้ำลายลงบนเลนส์ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วส่องดูรูปร่างของผลึกบนเลนส์ ซึ่งในช่วงวันตกไข่ ภาพที่เห็นจะมีลักษณะเป็นรูปใบเฟิร์นปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้จะช่วยทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มาก
ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอในช่วงตกไข่ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เพราะปกติไข่ที่ตกแล้วจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งวันหากไม่มีการปฎิสนธิ ขณะที่อสุจิสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 2 - 3 วัน
ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.