การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

การแพ้นมและอาหารไม่ย่อย

เมื่อลูกน้อยกินนม อาจเกิดปฏิกิริยาขึ้นได้ 2 ชนิด นั่นคืออาการแพ้และอาการอาหารไม่ย่อย

การแพ้นม

อาการของการแพ้นมมีอะไรบ้าง

มีผื่นแดง ท้องเสีย อาเจียน เกร็งในช่องท้อง ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ และอาการหายใจติดขัด

นมชนิดใดทำให้เกิดอาการแพ้?

เด็กมักแพ้นมวัวหรือนมที่มีส่วนผสมนมวัว เด็กบางรายอาจแพ้นมแม่ได้เช่นกันหากคุณแม่ดื่มหรือกินอาหารที่ทำจากนมวัว ถ้าลูกแพ้นมวัว ลูกก็มักจะแพ้นมแพะด้วย เพราะมีโปรตีนชนิดเดียวกัน การตรวจเลือดหรือทดสอบทางผิวหนังจะช่วยให้รู้ได้

ลูกแพ้อาหารและแพ้นม...เลือกอาหารอย่างไร?

กฎหมายเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลไว้บนฉลากอาหารกำหนดให้อาหารสำเร็จรูปทั้งหมดจะต้องระบุชัดเจนว่ามีส่วนผสมใดบ้าง ดังนั้น คุณแม่สามารถศึกษาได้จากฉลากก่อนซื้อ

การแพ้นมเป็นเรื่องปกติหรือไม่?

ทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ 100 คนจะมีอาการแพ้นมวัว 2-7 คน และอาการแพ้นมวัวจะหายไปเมื่อเด็กอายุได้ประมาณ 3 ขวบ แต่ก็มีเด็กประมาณ 1 ใน 5 คน ที่จะแพ้นมไปจนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้วเช่นกัน

นมไม่ย่อย

ภาวะนมไม่ย่อย แตกต่างจากอาการแพ้ แต่ก็มีอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน คือ

  • หากลูกน้อยอยู่ในภาวะนมไม่ย่อย จะสังเกตเห็นว่าลูกน้อยมีผิวหนังอักเสบ ท้องเสีย อาเจียน มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง แต่จะไม่มีอาการลมพิษหรือหายใจติดขัด

  • ภาวะนมไม่ย่อย จะไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือดหรือทดสอบทางผิวหนัง

  • ปรึกษากุมารแพทย์หรือพยาบาลแผนกเด็ก เพื่อตรวจสอบดูว่าลูกมีภาวะการขาดเอนไซม์ย่อย “โปรตีน” หรือ “แลคโตสในนม” หรือไม่ ถ้าเป็นโปรตีน ลูกอาจยังสามารถกินนมผงสำหรับทารกที่เป็นสูตรนมวัวได้

หากลูกมีอาการแพ้หรือเกิดภาวะไม่ย่อยนมวัว คุณแม่อาจเลือกนมที่ทำการย่อยโปรตีนนมวัวให้เล็กลงหรือใช้น้ำตาลชนิดอื่นแทนแลคโตส อย่างไรก็ตาม ให้ปรึกษากุมารแพทย์หรือพยาบาลแผนกเด็กเกี่ยวกับการเลือกนมที่เหมาะสมที่สุดก่อนที่จะเปลี่ยนนม

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x