การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ลูกน้อยฟันขึ้นเมื่อใด และสัญญาณไหนที่บ่งบอกว่าลูกน้อยฟันขึ้น?

เมื่อลูกฟันขึ้น

ฟันขึ้นเกิดขึ้นเมื่อฟันของลูกน้อยเริ่มโผล่ให้เห็นพ้นเหงือกหรือบางคนเรียกว่า "ฟันงอก (Cutting teeth)" 

ลูกน้อยเริ่มมีฟันขึ้นเมื่อใด?

โดยทั่วไปทารกเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือนต่อเนื่องไปถึง 3 ขวบ แต่บางคนอาจขึ้นเร็วหรือช้ากว่านั้น เช่น ฟันขึ้นตอนอายุ 3 เดือนหรือเมื่ออายุ 1 ขวบ เป็นต้น  

กรณีที่ลูกน้อยอายุ 12 เดือนแล้วแต่ฟันยังไม่ขึ้นสักที บางที อาจเพราะกรรมพันธุ์ ทางที่ดีคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

อาการคันเหงือก

เมื่อฟันขึ้นทารกมักรู้สึกเจ็บ หงุดหงิดและอารมณ์ไม่ดี เพราะขณะที่ฟันเริ่มขึ้น ขอบฟันจะดันเหงือกขึ้นมา ซึ่งฟันซี่แรก มักเป็นซี่ที่ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บที่สุด เพราะเป็นความรู้สึกใหม่ที่เกิดขึ้นกับเขาและจะเจ็บที่สุดอีกครั้งตอนฟันกรามขึ้น เพราะมีขนาดใหญ่

สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกมีฟันขึ้น

  • ลูกมีอาการขี้หงุดหงิด งอแง และร้องมากขึ้นในเวลากลางคืน
  • น้ำลายไหลมากลูกอยากกัดทุกอย่างที่เห็น (เพื่อพยายามลดอาการเจ็บปวด) โดยเขาจะเริ่มกัดนิ้วของตัวเองหรืออะไรก็ตามที่เขาหยิบจับได้
  • แก้มของลูกจะเป็นสีแดง
  • ลูกมีอาการตัวรุมๆ ร้อนๆ (แต่ไม่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่ามีไข้)
  • เหงือกของลูกจะบวมแดง
  • ลูกอยากดูดนมแม่หรือนมขวดมากขึ้น
  • ลูกอาจจะปฏิเสธการดูดนมแม่หรือนมขวดเพราะรู้สึกเจ็บเหงือก
  • ลูกเริ่มเบื่ออาหาร
  • ​ลูกจะนอนหลับไม่สนิท

วิธีการช่วยลูกน้อยเมื่อมีฟันขึ้น

  1. ให้ลูกดื่มน้ำมากๆ เพื่อทดแทนน้ำลายที่สูญเสียไป
  2. ใช้เจลหรือผงสำหรับฟันขึ้น ทาเหงือกให้ลูก
  3. ให้ลูกกัด “ยางกัด” (ยางกัดที่ดี คือ ยางกัดที่สามารถแช่ตู้เย็นให้เย็นได้) 

แพทย์ของคุณแม่อาจแนะนำให้ใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ทาครีมที่คาง คอ และหน้าอกของลูก เพื่อกันอาการเจ็บแสบเนื่องจากน้ำลายที่ไหล หันเหความสนใจของลูกด้วยการกอดลูกให้มากๆหรือหาของเล่นให้ลูก

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x