การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

การพัฒนาการด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรมเด็กวัย 3 ปีขึ้นไป

พัฒนาการลูกวัยเบบี๋ 10-11 เดือน

การให้นมลูกน้อย

วัยนี้ลูกจะไม่ยอมอยู่นิ่ง จะสนใจอยากรู้ทุกอย่าง จึงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเพื่อทำสิ่งต่างๆ อย่างไรก็ตาม กระเพาะอาหารของเด็กนั้นยังเล็กจึงจำเป็นต้องได้อาหารที่มีคุณค่าและพลังงานครบถ้วนเป็นมื้อย่อยๆแต่บ่อยครั้ง ลูกเริ่มพร้อมรับประทานอาหารคล้ายกับของผู้ใหญ่รวมไปถึงวิธีการรับประทานอาหารด้วย ดังนั้น แม้ว่าลูกน้อยจะเลอะบ้าง คุณแม่ก็ควรส่งเสริมให้ลูกทานเองในแต่ละมื้อ ดื่มน้ำเองจากแก้ว ให้เขาถือผักหรือผลไม้แทะกินเล่น หรือหัดใช้ช้อนตักอาหารทาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการกินของลูก จะทำให้ลูกเกิดความภูมิใจและความมั่นใจมากขึ้น 

พัฒนาการของลูกน้อย

ก้าวแรกและคำแรก

ลูกจะพูดคำแรกที่มีความหมายได้ เริ่มเดินก้าวแรกได้โดยต้องช่วยพยุงหรือจูงมือ พัฒนาการจากการคลานเปลี่ยนมาเป็นเด็กน้อยวัยเตาะแตะที่เริ่มเดินได้และพูดได้นั้นเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอย่างมาก ดูเม็กซ์ขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่วางกล้องถ่ายรูปไว้ใกล้ๆมือ ก้าวแรกของลูกน้อยนั้นควรค่าแก่การบันทึกเก็บไว้และมักจะเกิดขึ้นในนาทีที่เราไม่คาดฝัน 

ยืนได้ด้วยสองขาของตัวเอง

การคลานของลูกในช่วง 2–3 เดือนที่ผ่านมาช่วยฝึกกล้ามเนื้อขาของลูกให้แข็งแรงขึ้นอย่างมาก ถึงตอนนี้ลูกจะพยายามลุกขึ้นยืนเมื่อมีคนช่วยพยุงและอาจจะเดินก้าวแรกได้ในช่วงนี้ แต่หากลูกของคุณยังไม่เริ่มหัดเดิน ก็อย่ากังวล เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการในเรื่องนี้แตกต่างกันตามจังหวะของตน ลูกอาจจะหกล้มบ้างแต่ก็ไม่ละความพยายาม จะยังคงเดินเตาะแตะไปทั่วบ้านพลางยึดเกาะสิ่งของหรือคนที่อยู่ใกล้มือคว้า 

กล้ามเนื้อทำงานประสานกันและควบคุมได้ดีขึ้น

ในเวลานี้ ลูกจะควบคุมมือและนิ้วมือได้ดีขึ้น จึงชอบเล่นเอาสิ่งของใส่กล่องแล้วเทออกแล้วใส่ใหม่ ทำอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นชั่วโมงๆ นอกจากนี้ ลูกยังสนใจการกระทำที่ “เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน” ด้วย เช่น ล้อหมุนทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ไป การทำงานประสานกันระหว่างมือกับตาของเด็กในวัยนี้ก็ดีขึ้นมาก ลูกจะจับช้อนได้มั่นคงขึ้นและสนุกกับการตักอาหารเข้าปากตัวเอง แต่คงต้องเลอะเทอะเช่นนี้ไปอีกหลายเดือน 

พูดคำแรกได้แล้ว

สิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในช่วงเวลานี้ก็คือ คำแรก “ที่มีความหมาย” ของลูก ซึ่งอาจจะไม่ใช่คำที่คุณคาดหวังไว้ หรือ “ฝึก” ให้ลูกพูดมาโดยตลอดก็ได้ ลูกจะเริ่มเชื่อมโยงถ้อยคำกับวัตถุหรือคน และเอ่ยคำคำนั้นออกมาอย่างตรงตามความหมาย เช่น ลูกอาจจะร้องเรียก “แม่” และ “ป้อ” หรือพูดว่า “หม่ำ” เมื่อจะรับประทานอาหาร และเรียกแมวว่า “เหมียว”

การเรียนรู้

ลูกจะสนุกกับความเป็นอิสระในการไปโน่นมานี่ด้วยสองขาของตัวเอง แต่ยังต้องอาศัยสิ่งของในการเกาะพยุงตัว ลูกจะขาดความมั่นใจหากต้องเดินในที่โล่งว่างและไม่มีอะไรให้ยึดเกาะ เมื่อลูกน้อยยืนได้มั่นคงแล้ว คุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกก้าวเดินสั้นๆ โดยถอยห่างจากลูกเพียงเล็กน้อย อ้าแขนรอรับและเรียกลูกให้มาหา ลูกจะได้มีแรงจูงใจที่จะฝึกเดิน อย่าลืมชมเชยให้กำลังใจลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกเดินมาสู่อ้อมแขนของคุณแม่ได้โดยไม่ล้ม 

คุณรู้หรือไม่? 

ลูกน้อยจะเริ่มภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำนับจากนี้ไปการส่งเสริมลูกในช่วงทานอาหารและช่วงเล่นของลูกสามารถช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้ลูกได้

เคล็ดลับน่ารู้

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x