การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

รับมือ เด็ก 3-4 ขวบ หงุดหงิดง่าย ชอบร้องโวยวาย  เอาแต่ใจ

ความโกรธความโมโหเป็นอารมณ์ด้านลบ ที่มนุษย์ทุกคนต้องมี สิ่งสำคัญ คือ เราต้องรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองและระงับความโกรธให้ได้ เพื่อไม่ให้ความโกรธนั้นสร้างปัญหา กับผู้อื่น โดยเฉพาะวัยเด็กหากได้รับการดูแล การจัดการที่ไม่เหมาะสม เด็กอาจโตขึ้นมา สร้างปัญหา ทั้งต่อตัวเอง คนรอบข้าง และสังคมได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรละเลยในการดูแล ส่งเสริม ให้ลูกรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และจัดการกับอารมณ์โกรธของตัวเองให้ได้ตั้งแต่วัยเด็ก

 

เข้าใจพัฒนาการสมองเด็ก 3 ขวบ

เป็นเรื่องปกติ สำหรับเด็กในวัย 3-4 ขวบ ที่เริ่มมีอาการหงุดหงิดง่าย กรีดร้องเสียงดัง ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ และอารมณ์โกรธจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จาก 0-10 แต่ถ้ารุนแรงถึงขั้นทำร้ายตัวเอง ทำร้ายสัตว์ ทำร้ายคนอื่นๆ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม

ช่วง 3 ขวบพัฒนาการสมองจะเริ่มเปลี่ยนแปลง จากวัยทารก เด็กเล็กๆที่แสดงออกตามสัญชาตญาณ เมื่อถึงช่วงวัยนี้จะเริ่มแสดงตามอารมณ์และความรู้สึกอย่างเป็นอิสระไม่สนใจใคร ปัญหาควมคุมอารมณ์ไม่ได้จึงเริ่มเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้ และพอเริ่ม 4 ขวบ เด็กจะเริ่มรับฟังเหตุผลและอารมณ์โกรธ หงุดหงิด กรีดร้องจะค่อยๆลดลงเพราะเขาอยากเป็นเด็กดีของทุกคน

เด็กที่เริ่มโมโหในวัยนี้  มักเกิดจากการที่เขาไม่สามารถควบคุมคนอื่นได้ ถูกขัดใจ  ไม่ได้ดั่งใจ หลายๆครั้งที่เรื่องง่ายๆ แค่เพิ่งตื่นนอน นอนไม่เต็มอิ่ม หรือหิว ก็ทำให้รู้สึกโมโห หงุดหงิด  อยากต่อต้าน อยากเอาชนะให้ได้ ดั้งนั้นพ่อแม่ต้องคอยสังเกต หาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงจุด  การฝึกวินัยตั้งแต่เล็กๆ เช่น การตื่นนอน กิน และเข้านอนเป็นเวลา สอนให้ลูกรู้ว่าเวลาไหนต้องทำอะไร ก็จะช่วยลดปัญหาความหงุดหงิดได้

 

5 วิธีรับมือ ลูกโมโห ระยะสั้น

 

1. ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม

เวลาที่ลูกอยากได้อะไรบางอย่างที่คุณไม่สามารถตามใจให้ได้   ให้คุณตัดไฟตั้งแต่ต้นลมด้วยการอย่าพูดว่า “ไม่” หรือ “ไม่ได้” ในทันที เพราะจะยิ่งเพิ่มความโมโหของลูก คุณต้องเปลี่ยนจากคำว่า ไม่ /ไม่ได้ มาเป็นการถามว่าอยากได้อะไร และอธิบายเหตุผลช้าๆสั้นๆว่าเพราะอะไรจึงไม่สามารถให้ได้ หรือถ้าต้องให้เลิกเล่น เลิกทำอะไรบางอย่าง ต้องให้เวลากับเขาด้วยการพูดว่า “พ่อจะนับ 1-5  แล้วไปนอนนะครับ” “ แม่จะนับ 1-10 แล้วไปอาบน้ำกันนะคะ  หรือ ให้ลูกเลือกว่าจะให้ พ่อแม่นับถึงเท่าไร เช่น 1-5 หรือ 1-10 เพื่อให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนเลือก เขาจะยอมรับง่ายขึ้น

2. ให้เวลากับลูก

การดูแลเอาใจใส่ อย่างใกล้ชิด ให้เวลาคุณภาพกับลูกสร้างความแตกต่างได้มากต่ออนาคตของลูก ดังนั้นข้อแรก พ่อแม่ต้องให้เวลากับลูกให้ได้มากที่สุด เพื่อเข้าใจอารมณ์ความต้องการของลูก ชี้นำในทางที่เหมาะสม ถึงเหตุและผล บอกลูกเสมอว่าการใช้อารมณ์ ความหงุดหงิด โมโหเป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำ ไม่ตอบสนอง ตามใจลูก เวลาที่ลูกใช้อารมณโกรธ หงุดหงิด โวยวาย เพราะจะทำให้ลูกเรียนรู้ว่าการใช้อารมณ์นั้นจะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ

3. รีบควมคุมสถานการณ์

เมื่อพบว่าลูกเริ่มโมโห ให้รีบหยุด โดยการกอด สบตา อย่างเข้าใจ ลูกจะรู้สึกว่าคุณอยู่ข้างเขา คุณคือทีมเดียวกับเขา สอบถามความต้องการอย่างใจเย็น มีเหตุผล ให้ลูกพูดช้าๆ ว่าต้องการอะไร หากไม่สามารถตอบสนองได้ ควรมีสิ่งแลกเปลี่ยน หรือเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งนั้น เพราะถ้าปล่อยให้รุนแรงขึ้นก็ยิ่งยากที่จะควบคุมลูก

4. เป็นตัวอย่างที่ดีเสมอ

พ่อแม่ต้องไม่ใช้อารมณ์ เสียงดัง โมโห หงุดหงิด ต่อหน้าลูก   และไม่ว่าลูกจะมีอารมณ์ รุนแรงเพียงใด คุณก็ต้องเข้าหาลูกด้วยความใจเย็น สงบ ดังนั้นก่อนที่คุณจะไปควบคุมอารมณ์ลูก คุณจำเป็นต้องคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อนเสมอทุกครั้ง

5. เบี่ยงเบนความสนใจย้ายสถานที่

เมื่อลูกเริ่มโมโห การพาลูกไปคุยที่อื่น ย้ายออกจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้ลูกมีอารมณ์ โกรธ โมโห เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยยืดเวลา ให้คุณสามารถควบคุมอารมณ์ลูกได้เช่นกัน

 

เคล็ดลับ กับวิธีรับมือลูกโมโห ระยะยาว

การส่งเสริมให้ลูกมีเหตุผล สามารถควบคุมอารมณ์ ความโกรธ ความไม่พอใจ และมีวิธีการจัดการกับอารมณ์ด้านลบของตัวเองในระยะยาวให้เหมาะสมนั้นสามารถทำได้โดยวิธีการเหล่านี้ คือ 

1. สอนลูกให้ลูกรับมือกับความโกรธของตัวเอง

สังเกตและบอกลูกให้รู้ตัวว่า ลูกกำลังโกรธ ลูกกำลังโมโห และพ่อแม่พร้อมที่จะเข้าใจเขา โดยการบอกลูกทุกครั้งที่ลูกมีอารมณ์ ว่า   “ตอนนี้หนูกำลังโกรธ ความโกรธเป็นเรื่องธรรมชาติที่ใคร ๆ ก็โกรธได้ คุณแม่ก็โกรธได้  และหนูสามารถจัดการมันได้ ด้วยการ หายใจเข้าช้าๆ ยาวๆ หรือนับ 1- 10 แม่จะอยู่ข้างๆลูก แล้วหนูก็จะพบว่าความโกรธหายไปค่ะ”   เมื่อลูกยอมทำตาม ให้กอด ชื่นชม ที่ลูกจัดการกับอารมณ์ด้านลบได้เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกทำดีต่อไป 

2. ให้ลูกรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง

พ่อแม่ควรสอนลูกให้รู้ถึงอารมณ์ด้านลบของตัวเองอยู่เสมอ  ซึ่งอาจเป็นสถานการ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือหาจากนิทาน อ่านให้ลูกฟัง และนำมาเรื่องราวในนิทาน มาจำลองเพื่อให้ลูกเห็นภาพที่ชัดขึ้น    

3. สอนให้ลูกรู้จักแก้ปัญหา

ฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันง่ายๆให้เหมาะสมตามวัย ให้ลูกทำเอง ได้ลองแก้ปัญหาเองก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเอง ลูกจะได้ไม่เรียกร้องความสนใจ หรือต้องให้ผู้อื่นช่วยตอบสนองความต้องการของตนเอง

 

บทความน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาการเด็กด้านบุคลิกภาพวัย 3 ขวบ

ส่งเสริมพัฒนาการรักการอ่านให้ลูก

10 เทคนิคส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ 3 ขวบ

 

แหล่งบทความ

https://www.nhs.uk/mental-health/children-and-young-adults/advice-for-parents/help-your-child-with-anger-issues/

https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30361

https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29595

https://www.istrong.co/single-post/your-behavior-is-to-rush-to-see-a-psychologist

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x