การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

มีใครมีเมนูอาหารที่แนะนำสำหรับคนท้อง 1 เดือนบ้างไหมค่ะ ปกติเป็นคนกินของไม่ค่อยมีประโยชน์เลย พอมีลูกเลยอยากจะเปลี่ยนตัวเองซะหน่อย

careline

แคร์ไลน์พิมพ์พิชญา

"หลักการรรับประทานอาหารที่สำคัญคือ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ทั้ง 3 มื้ออย่างหลากหลายชนิดค่ะ นอกจากกนี้อาหารในแต่ละไตรมาสก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษด้วย เพราะในแต่ละช่วงเดือนลูกน้อยมีความต้องการและพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ ไตรมาสที่ 1 (ช่วงเดือนที่ 1-3) ในช่วง 3 เดือนแรก คุณแม่ไม่ควรทานอาหารในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะระยะนี้ทารกเพิ่งจะเริ่มมีลักษณะเป็นตัว มีขนาดเล็กนิดเดียว คุณแม่ควรเพิ่มสารอาหารที่จำเป็น เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ วิตามิน เกลือแร่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดโฟลิกที่ได้จากผักใบเขียว ไตรมาสที่ 2 (ช่วงเดือนที่ 4-6) ระยะนี้ทารกเริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เพียงพอกับการพัฒนาเซลล์ที่ขยายขนาดขึ้น คุณแม่ควรทานโปรตีน จากเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น เน้นเป็นเนื้อปลาเพราะให้โปรตีนสูงและย่อยง่าย และควรทานผักและผลไม้เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหาร เพราะในช่วงตั้งครรภ์นี้จะพบอาการท้องผูกได้บ่อย เมื่อลูกน้อยในครรภ์กำลังขยายขนาดของเซลล์ ร่างกายจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการอาหารในปริมาณมาก โดยเฉพาะธาตุเหล็กร่างกายคุณแม่จำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่ช่วยบำรุงเลือดเพื่อช่วยลำเลียงสารอาหารไปยังลูกน้อย นอกจากนี้คุณแม่ควรได้รับวิตามินซีควบคู่กันไป เพราะวิตามินซีมีช่วยเพิ่มการดูดซึมของธาตุเหล็กให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น วิตามินซีพบมากใน ผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม มะนาว กีวี ฝรั่ง ธาตุเหล็กพบมากใน เนื้อแดง ไข่ ตับ และผักใบเขียว ไตรมาสที่ 3 (ช่วงเดือนที่ 7-9) อายุครรภ์นี้ต้องการสารอาหารใกล้เคียงกับไตรมาสที่2แต่ตอนนี้ท้องคุณแม่ใหญ่ คุณแม่จึงไม่สามารถทานอาหารเพิ่มได้ครั้งละมากๆ จึงควรเพิ่มมื้ออาหาร จากมื้อหลัก 3 มื้อ ควรเพิ่มเป็น 4-5 มื้อ เคี้ยวให้ละเอียด และรับประทานให้ช้า และจากที่ลูกมีขนาดตัวที่โตขึ้นอย่างรวดเร้วในอายุครรภ์นี้ จึงควรทานสารอาหารกลุ่มแคลเซียมและฟอสฟอรัส ให้เพียงพอ เพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างของกระดูกและฟันให้กับลูกน้อย และยังมีส่วนช่วยลดการเกิดตะคริวให้คุณแม่ แคลเซียมพบมากใน ปลาตัวเล็กตัวน้อย เต้าหู้ ไข่ นม ค่ะ"

หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมโปรดส่งอีเมลถึงแคร์ไลน์

 

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x