การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก และการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ/โภชนาการของมารดาก็มีความสำคัญเมื่อให้นมลูก

การตัดสินใจไม่ให้นมลูกอาจเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข นมผงสำหรับทารกเหมาะตั้งแต่แรกเกิดเมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่ ขอแนะนำให้ใช้นมสูตรทั้งหมดตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลผดุงครรภ์ ผู้มาเยี่ยมเยียนด้านสุขภาพ พยาบาลสาธารณสุข นักโภชนาการ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่รับผิดชอบในการดูแลแม่และเด็ก

และควรคำนึงถึงผลกระทบทางการเงินด้วย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมและการให้อาหารทั้งหมดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากการจัดเตรียมที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

ลูกท้องผูก  พ่อเเม่ควรทำอย่างไรดี

อาการท้องผูกมักไม่พบในเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ เพราะนมแม่นั้นย่อยได้ง่ายกว่า และช่วยให้อุจจาระนิ่ม และหากลูกเริ่มถ่ายอุจจาระห่างลง ไม่ถ่ายทุกวัน แต่อุจจาระยังคงเป็นเนื้อนิ่มและไม่มีอาการ อื่นใด กินนมได้ น้าหนักขึ้นดี ก็ยังไม่ถือว่าลูกมีอาการท้องผูกค่ะ ลองมาดูกันค่ะว่ามีอะไรที่ต้องรู้บ้าง เกี่ยวกับทารกท้องผูก

สัญญาณบอกเหตุว่าลูกอาจท้องผูก

  1. ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์
  2. ถ่ายอุจจาระเป็นก้อนเล็กๆ แข็งๆ
  3. ถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องออกแรงเบ่งมาก
  4. อาจมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ

นอกจากนั้น ถ้าทารกถ่ายยาก การเบ่งอุจจาระอาจทำให้ลูกเจ็บ เขาจึงอาจจะหยุดเบ่งโดยไม่รู้ตัวและไม่ถ่าย ทำให้อุจจาระแข็งยิ่งขึ้นก็ยิ่งถ่ายลำบาก เป็นวงจรของอาการท้องผูกซึ่งทำให้เป็นปัญหาเรื้อรังต่อไปได้

สาเหตุที่พบบ่อยของทารกท้องผูก

  1. การเปลี่ยนอาหาร เช่น เปลี่ยนนม ยี่ห้อนมผง
  2. การขาดน้ำ ทานน้ำน้อยเกินไป
  3. ลูกไม่ชอบกินผัก ผลไม้
  4. ชอบกลั้นอุจจาระ

วิธีแก้ปัญหาทารกท้องผูกต้องทำอย่างไรดีที่สุด

เมื่อทารกท้องผูก ต้องทำอย่างไร

ให้ลูกดื่มน้ำให้มากขึ้น การให้ลูกดื่มน้ำให้มากขึ้นสำคัญมาก เพราะน้ำจะทำให้อุจจาระนิ่มขึ้นและถ่ายง่ายขึ้น เช้าๆ ลูกตื่นขึ้นมาลองเอาน้ำเปล่าให้ลูกทานสักแก้ว เพื่อกระตุ้นระบบการขับถ่ายให้ลำไส้บีบรัดเอาอุจจาระที่คั่งค้างออกมา

คุณแม่ควรให้เขาทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผักต่าง ๆ และผลไม้ เช่น มะละกอ กล้วยสุก ส้ม และสามารถเสริมน้ำผลไม้โดยเจือจางด้วยน้ำเปล่าในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน เช่น น้ำลูกพรุน น้ำมะขาม น้ำ เป็นต้น

ฝึกให้ลูกขับถ่ายเป็นเวลา โดยควรฝึกหลังอาหาร เนื่องจากการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว และไม่ควรฝึกการขับถ่ายด้วยความเข้มงวดหรือดุลูกนะคะ เพราะจะทำให้เด็กเครียดและยิ่งไม่ยอมถ่ายมากขึ้น

เพิ่มการออกกำลังกายของลูกเพื่อช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นค่ะ

ทั้งนี้อาการท้องผูกในเด็กบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย หากคุณพ่อคุณแม่ลองปรับพฤติกรรมลูกแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษากุมารแพทย์

 

 

อ้างอิงจาก  

1.   การดูแลและป้องกันโรคท้องผูกในเด็ก รศ.นพ. เสกสิต โอสถากุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://www.thaipediatrics.org/attchfile/child5.pdf

2.   งานพยาบาลป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ.คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.เด็กท้องผูก.เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/healthpromo/sites/default/files/public/download/b2.pdf

 

Careline Footer

Careline เคียงข้างคุณแม่…ดูแลลูกรัก

ทุกคำถามที่คุณแม่อยากรู้ เราพร้อมให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญพยาบาล และนักโภชนาการ.

x