ประโยชน์ของการออกกำลังกายและดูแลร่างกายให้แข็งแรงระหว่างตั้งครรภ์
การออกกำลังกายเบาๆ
นอกจากจะช่วยเพิ่มความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าให้แก่คุณแม่แล้วยังมีประโยชน์ดังนี้
- ช่วยลดอาการท้องผูก เป็นตะคริว
ปวดหลัง
- รู้สึกแข็งแรงขึ้น
- ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
- ผ่อนคลายความเครียดและป้องกันภาวะอารมณ์ซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
- ช่วยให้คุณดูดีและรู้สึกดี
- ได้มีโอกาสพบปะคุณแม่ตั้งครรภ์ท่านอื่นๆ
- ช่วยให้รูปร่างหลังคลอดคืนดีเหมือนเดิมได้เร็วขึ้น
- เป็นการเตรียมตัวสำหรับการคลอด
การออกกำลังกายประเภทไหนที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์
หากปกติคุณไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมากนักก็ควรจะเริ่มออกกำลังกายทีละน้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงตั้งครรภ์โดยอาจขอคำแนะนำจากผู้รู้ซึ่งควรเป็นการออกกำลังประเภทที่ใช้แรงกระแทกน้อยและเป็นกีฬาที่อ่อนโยนสำหรับคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างเช่นกีฬาต่อไปนี้
- โยคะ –เน้นที่การยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายและการฝึกหายใจ
ควรเลี่ยงท่าที่อันตราย
- การเดินและวิ่งเหยาะๆ
- การว่ายน้ำ
- การออกกำลังกายสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
หรือการออกกำลังกายในน้ำเพื่อเตรียมคลอด (คล้ายๆกับแอโรบิกในน้ำ แต่ออกแบบมาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ)
- การเต้นรำเบาๆ
- การขี่จักรยาน -
ขณะตั้งครรภ์คุณแม่สามารถขี่จักรยานได้อย่างปลอดภัยเพียงแค่เลือกเส้นทางที่ไม่ขรุขระเกินไป
และควรเลือกเบาะนั่งนุ่มๆหรือมีที่กันกระแทกแต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นควรขี่จักรยานออกกำลังกายแบบอยู่กับที่จะปลอดภัยกว่าเพื่อป้องกันการล้ม
การเข้าคลาสออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์
ควรเลือกผู้สอนที่มีใบรับรองหรือมีประสบการณ์การให้คำแนะนำการออกกำลังกายสำหรับแม่ตั้งครรภ์มาก่อน
พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบถึงความต้องการในการออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์
การออกกำลังกายที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์สิ่งที่คุณแม่ควรทราบ
- ไม่ควรออกกำลังกายจนร่างกายร้อนเกินไปเป็นเวลานาน
- ควรสวมเสื้อชั้นในแบบสปอร์ตและสวมรองเท้าที่รองรับการกระแทกได้ดี
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ระวังเรื่องการทรงตัว
- ห้ามทำอะไรเกินกำลัง
ถ้ารู้สึกวิงเวียนหน้ามืดคล้ายจะเป็นลม เป็นตะคริว เหนื่อยหมดแรง
หรือร้อนเกินไปให้หยุดออกกำลังกายทันที
การออกกำลังกายและกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงตั้งครรภ์
- การขี่ม้า
- การยกน้ำหนัก
- การเดินทางท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็ค
- การดำน้ำลึก
- การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่มีแรงกระแทกสูง
กีฬาที่มีการกระทบกระแทกกัน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความสูง
ทั้งนี้ควรขอคำปรึกษาจากสูติแพทย์ก่อนจะเริ่มต้นการออกกำลังกายในช่วงตั้งครรภ์