การกระชับรูปร่างให้กลับเป็นดังเดิมการออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุดแต่คุณแม่ควรทำหลังคลอดอย่างน้อย
6 สัปดาห์ (หรือ 12 สัปดาห์หากคุณผ่าตัดคลอด) และก่อนที่จะเริ่มออกกำลังกายอย่างจริงจังคุณแม่ควรปรึกษากับแพทย์ก่อน
ให้เริ่มออกกำลังกายอย่างช้าๆ และค่อยเป็นค่อยไปเพราะหากคุณหักโหมออกกำลังกายมากเกินไปอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย
- ควรเริ่มด้วยการเดินเบาๆ
แล้วค่อยๆเพิ่มความเร็วขึ้นเมื่อผ่านไปแล้ว 2 -3 ครั้ง
- การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานสามารถทำได้ทุกที่
- เมื่อแพทย์อนุญาตให้คุณออกกำลังกายได้
ควรลองออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่นเต้นออกกำลังกายใกล้บ้าน การเต้นในห้องนั่งเล่น
การเดินเร็วๆ หรือว่ายน้ำ
- อาจใช้โอกาสในการดูแลลูกเป็นส่วนหนึ่งของการออกกำลังกายประจำวันเช่น
เดินออกกำลังกายไปพร้อมเข็นรถเข็นของลูกไปด้วย
หัวใจสำคัญอยู่ที่การออกกำลังกายทีละน้อยแต่ทำบ่อยๆ
อย่างน้อยคุณแม่ควรตั้งเป้าการออกกำลังกายให้ได้ครั้งละ 10 นาที สะสมไปเรื่อยๆ
ให้ครบ 30 นาทีต่อวัน และทำเช่นนี้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์และอย่าฝืนร่างกายเป็นอันขาด
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
คุณแม่ควรได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสมและได้รับพลังงานอย่างน้อย
2,000 แคลอรี่ต่อวัน (มากกว่านี้หากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่)
อย่างไรก็ตามในขณะที่ร่างกายของคุณแม่ต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนก็อาจลดการรับประทานไขมันให้น้อยลง
(แต่ไม่ใช่การลดปริมาณอาหาร)ซึ่งจะช่วยในการลดน้ำหนักได้ โดยเลือกอาหารไขมันต่ำและมีกากใยสูงและเปลี่ยนไปรับประทานผลไม้สดแทนคุ้กกี้
รวมทั้งระมัดระวังเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสมอยู่ด้วย
การลดน้ำหนักและการออกกำลังกายในช่วงให้นมลูก
หากคุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทุกครั้งที่คุณให้นมลูก
ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งขึ้นมาที่เรียกว่า "ออกซิโตซิน"
(Oxytocin) ซึ่งจะช่วยปรับร่างกายสู่สภาพเดิมอย่างเป็นธรรมชาติด้วยอีกทางหนึ่งนอกจากออกกำลังกาย
คุณไม่ควรจำกัดอาหารในช่วงนี้เพราะอาจทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำนมแม่ลูกน้อยของคุณก็อาจได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญโตไม่ครบถ้วน
พยายามอย่าหักโหมออกกำลังหรือใช้แรงมากจนเกินไป
มิฉะนั้นน้ำนมของคุณอาจมีกรดแลกติคสะสมได้ซึ่งมีผลต่อลูก
คำแนะนำสุดท้ายคุณแม่ควรออกกำลังกายหลังจากให้นมลูก
เพื่อที่เต้านมของคุณจะได้ไม่หนักมากจนเกินไปและควรสวมเสื้อชั้นในที่กระชับหน้าอกได้ดี