ทำไมต้องมีการตรวจชนิดต่างๆ?
การตรวจชนิดต่างๆระหว่างการตั้งครรภ์มีไว้เพื่อช่วยทำให้แน่ใจว่าทุกอย่างปกติ
หากมีสิ่งผิดปกติใดๆเกิดขึ้น จะได้ตรวจพบโดยเร็วการตรวจบางอย่าง
อาจฟังดูค่อนข้างซับซ้อนแต่นั่นเป็นการตรวจตามมาตรฐานสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
การตรวจน้ำคร่ำ
การตรวจน้ำคร่ำจะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 15-18 ของการตั้งครรภ์เป็นการตรวจเพื่อดูว่าลูกของคุณมีกลุ่มอาการดาวน์หรือความผิดปกติทางโครโมโซมอื่นๆหรือไม่
คุณควรจะต้องตรวจน้ำคร่ำ หากคุณมีอายุเกินกว่า 35 ปีเคยคลอดลูกที่มีความผิดปกติบางอย่างหรือเครือญาติของคุณหรือสามีมีประวัติของความผิดปกติทางพันธุกรรม
นอกจากนี้คุณอาจต้องรับการตรวจน้ำคร่ำหากผลการตรวจเลือดหรือการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อวัดความหนาของน้ำที่สะสมบริเวณต้นคอทารกชี้ว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง
คุณแม่ส่วนใหญ่จะรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือนการเจาะน้ำคร่ำจะใช้เวลาประมาณ
25 นาที
และคาดว่าจะทราบผลภายใน 2 สัปดาห์
โดยปกติ การเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่ค่อนข้างปลอดภัยมีประโยชน์มากกว่าอันตรายที่อาจเกิดจากผลแทรกซ้อน
แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่บ้างพบว่า 1 ใน 200 รายจะมีผลแทรกซ้อนหลังจากเจาะน้ำคร่ำซึ่งอาจส่งผลให้แท้งบุตรได้
ดังนั้นควรพูดคุยกับสูติแพทย์ของคุณให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อนก่อนที่จะลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม
การตรวจชิ้นเนื้อรก ( Chorionic villus sampling; CVS)
การตรวจชิ้นเนื้อรกมักจะทำในช่วงไตรมาสแรก
(ช่วงครรภ์ 1-3 เดือน) เป็นวิธีที่ใช้แทนการตรวจน้ำคร่ำข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือการตรวจวิธีนี้ไม่สามารถตรวจพบภาวะเยื่อหุ้มไขสันหลังปิดไม่สนิทที่เรียกว่า
Spina Bifida ได้ โดยปกติ หญิงมีครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและมีประวัติของสมาชิกในครอบครัวที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือเคยคลอดลูกที่มีความผิดปกติบางอย่างควรจะต้องตรวจชิ้นเนื้อรก
ซึ่งจะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงและเจ็บกว่าการเจาะน้ำคร่ำเล็กน้อย
ภายหลังการเจาะชิ้นเนื้อรกเสร็จแล้ว คุณจะต้องพักผ่อนเป็นเวลา 2
-3 วันการเจาะชิ้นเนื้อรก (CVS) มีโอกาสเสี่ยงเล็กน้อยต่อการแท้งบุตรเช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ
ดังนั้นคุณจะต้องซักถามข้อสงสัยและข้อวิตกกังวลใจต่างๆกับสูติแพทย์ของคุณก่อนที่จะรับการตรวจ
การตรวจหาเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์
ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์แพทย์อาจทำการตรวจหาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ซึ่งอาจพบได้ประมาณ 2
- 3 เปอร์เซ็นต์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีความเสี่ยงมักจะมีอายุมากกว่า
35 ปี เป็นโรคอ้วน
และเคยเกิดภาวะนี้ในการตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้และยังพบได้บ่อยในว่าที่คุณแม่ที่มีเชื้อสายอินเดีย
แอฟโฟร-คาริบเบียนหรือชาวตะวันออกกลาง วิธีนี้สามารถตรวจได้ว่าคุณมีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อยู่หรือไม่
การตรวจเลือดโดยทั่วไป
ระหว่างตั้งครรภ์
คุณอาจได้รับการตรวจเลือดค่อนข้างบ่อย เพื่อจะตรวจสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
- ระดับธาตุเหล็ก:หากระดับของธาตุเหล็กในเลือดต่ำคุณอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายและเซื่องซึมคุณควรเพิ่มเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของผักใบเขียวและเนื้อแดงคุณอาจต้องรับประทานธาตุเหล็กชนิดเม็ดเพื่อป้องกันเป็นโรคโลหิตจาง
- หมู่เลือดและหมู่เลือด Rh: แพทย์จำเป็นต้องทราบหมู่เลือดของคุณและยังต้องทราบด้วยว่าเป็นหมู่เลือด
Rh
บวก (RH+) หรือ Rh ลบ (RH-) เนื่องจากหมู่เลือดทั้งสองชนิดนี้ไม่สามารถเข้ากันได้หากหมู่เลือดRh
ของคุณกับลูกในครรภ์ไม่ตรงกันอาจมีโอกาสที่ร่างกายของคุณจะต่อต้านเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูก
ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยของคุณในระยะท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ได้
- หัดเยอรมัน
คุณแม่อาจเคยได้รับวัคซีนนี้ในขณะยังเด็กแต่หากผลการตรวจเลือดชี้ว่าคุณแม่ไม่มีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันคุณต้องหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้คนที่กำลังเป็นหัดเยอรมันเพราะว่าอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณได้
- โรคอื่นๆ:แพทย์จะตรวจเลือดของคุณเพื่อหาโรคไวรัสตับอักเสบบีและซิฟิลิสเนื่องจากโรคสองชนิดนี้เป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณ
นอกจากนี้แพทย์อาจแนะให้ตรวจหาเชื้อเอชไอวี/เอดส์ด้วย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการตรวจหรือไม่
- โรคสมองอักเสบจากเชื้อท็อกโซพลาสมา
:
เชื้อนี้เป็นพยาธิซึ่งติดมากับอุจจาระแมวและเนื้อที่ปรุงไม่สุกและอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณการตรวจหาเชื้อนี้ไม่รวมอยู่ในการตรวจทั่วไปแต่คุณสามารถปรึกษากับสูติแพทย์ได้หากคิดว่าลูกน้อยของคุณอาจมีโอกาสเสี่ยง
การตรวจปัสสาวะ
แพทย์จะตรวจปัสสาวะของคุณระหว่างตั้งครรภ์เพื่อดู
- โปรตีนในปัสสาวะซึ่งบอกถึงการติดเชื้อหรือการได้รับเชื้อหรือหากพบโปรตีนในปัสสาวะร่วมกับอาการอื่นๆ
อาจบ่งชี้ถึงภาวะครรภ์เป็นพิษได้ซึ่งอาจเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ สูติแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์ของคุณสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณได้หรือสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาวะครรภ์เป็นพิษได้ที่นี่
- การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอาจก่อให้เกิดปัญหาในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์ได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องคุณแม่บางท่านอาจไม่ทราบว่าติดเชื้อเนื่องจากไม่มีอาการใดๆแต่ตรวจพบได้ด้วยการตรวจปัสสาวะและรักษาได้ง่ายด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ
- น้ำตาลหากตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะซ้ำกันหลายครั้งอาจจะเป็นสัญญาณของเบาหวานขณะตั้งครรภ์
( gestational
diabetes) ซึ่งอาจเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่และลูกน้อยได้การรักษาทำได้โดยง่ายด้วยการเปลี่ยนแปลงนิสัยในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
|
|