เจาะลึก “โปรตีน” สำหรับคุณแม่ช่วงให้นมบุตร
คุณแม่ช่วงให้นมบุตรต้องใส่ใจกับโภชนาการให้เป็นไปอย่างเหมาะสม และสมดุลนะคะ การกินอาหารของคุณแม่ต้องมีความหลากหลาย และต้องดูแลให้ปริมาณการได้รับสารอาหารแต่ละประเภทมีความเพียงพอต่อความต้องการของคุณแม่ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ยังต้องได้รับการบำรุงร่างกายอยู่นะคะ เพราะคุณแม่ต้องมีร่างกายที่พร้อม สมบูรณ์เพื่อที่จะผลิตน้ำนมให้ลูกน้อยได้ดื่มกินค่ะ
เรามาเจาะลึกเรื่องโปรตีน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในช่วงการให้นมบุตรของคุณแม่กันดีกว่าค่ะ โดยอันดับแรก โปรตีนเป็นตัวช่วยเสริมให้คุณแม่มีน้ำนมอย่างเพียงพอให้ลูกน้อยนะคะ
นอกจากนั้น ยังมีความสำคัญต่อร่างกายของคุณแม่ในด้านการเจริญเติบโต และการบำรุงส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างต่างๆ ทางร่างกาย เช่น ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ กระดูก และอวัยวะต่างๆ และช่วยซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ในร่างกายด้วยค่ะ
โปรตีนช่วยให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างปกติ โดยซ่อมแซม และสร้างเซลล์สมองใหม่ มีบทบาทในการผลิตสารสื่อประสาท นั่นก็คือ ตัวรับส่งข้อมูลของสมองนั่นเอง ซึ่งช่วยเรื่องการส่งและเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นเครือข่ายของเซลล์สมอง และช่วยด้านการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทค่ะ
ร่างกายใช้โปรตีนในการสังเคราะห์ฮอร์โมน เอนไซม์ และภูมิต้านทาน ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมการทำงานของกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย การย่อยอาหาร และการต่อสู้กับการติดเชื้อค่ะ และโปรตีนยังเป็นแหล่งของพลังงานอีกส่วนสำหรับร่างกายของคุณแม่ด้วยนะคะ
แหล่งโปรตีนที่คุณแม่สามารถเลือกรับประทานได้
โปรตีนจากสัตว์ |
โปรตีนจากพืช |
เป็นโปรตีนสมบูรณ์ เพราะประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น* ครบทุกชนิด
เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว, หมู, แกะ, กวาง
เนื้อขาว เช่น เนื้อไก่, ปลา, สัตว์น้ำจำพวกมีเปลือก
นม, เนยแข็ง, โยเกิร์ต, ไข่
|
ขาดกรดอะมิโนจำเป็น*อย่างน้อยหนึ่งชนิดหรือมีปริมาณเพียงเล็กน้อย
ถั่วฝักเมล็ดกลมและไม่กลม, ถั่วดาล, เต้าหู้ขาวอ่อน
ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดพืช
ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เช่น ขนมปัง, ข้าว, บะหมี่
|
*ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้และต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ชาวไทยควรได้รับปริมาณโปรตีน 77 กรัม/วัน ซึ่งคุณแม่สามารถดูปริมาณโปรตีนในตัวอย่างอาหารแต่ละเมนูได้ในตารางด้านล่างนี้นะคะ
อาหารที่ให้โปรตีน |
ปริมาณบริโภค |
ไข่ |
½ ฟอง |
ถั่วเมล็ดแห้ง |
1 ช้อนกินข้าว |
เต้าหู้แข็ง |
2 ช้อนกินข้าว |
เต้าหู้อ่อน |
6 ช้อนกินข้าว |
ที่มา: คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ด้านอาหารและโภชนาการสู่คุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. บทความอาหารโภชนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี