
เหตุผลดีดี...ที่ควรบีบน้ำนมเก็บไว้
- เมื่อลูกกินได้น้อย หรือคุณแม่ไม่อยู่กับลูกในเวลานั้น
- เมื่อให้ลูกทานอาหารเสริมตามวัย
- ช่วยให้คุณแม่ได้พัก
- คุณพ่อได้สร้างความผูกพันกับลูกจากการป้อนนมลูก
เทคนิคการบีบน้ำนมแม่ด้วยมือ
ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมหรืออาบน้ำหรือนวดเต้านมเพื่อลดอาการคัดล้างมือและฆ่าเชื้อทำความสะอาดภาชนะที่จะเก็บน้ำนมก่อนเริ่มบีบน้ำนม
วิธีการบีบ
- ประคองเต้านมด้วยมือข้างหนึ่ง แล้วนวดคลึงไล่ตั้งแต่ส่วนบนลงมาและคลึงรอบเต้านมรวมทั้งส่วนล่างด้วย
- ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กดบนบริเวณรอบลานหัวนม (บริเวณที่เป็นสีเข้มรอบหัวนม)
เบาๆ
- บีบพร้อมกันแล้วกดเข้าหาตัวเพื่อให้นมไหลออก
ควรระวังน้ำนมพุ่งกระจายออกมา
การบีบน้ำนมด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า
ใช้น้ำอุ่นประคบที่เต้านมหรือนวดก่อนเพื่อลดอาการคัดใช้เครื่องปั๊มนมที่สะอาดปราศจากเชื้อ
โดยใช้เวลาประมาณ 15
- 45 นาทีในการบีบนมด้วยเครื่องและคุณไม่ควรรู้สึกเจ็บที่เต้านมในขณะปั๊ม
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องปั๊มที่คุณใช้ด้วย
น้ำนมที่บีบออก...เก็บอย่างไร?
สามารถเก็บนมไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแช่แข็งโดยเขียนวันที่ที่บีบน้ำนมเก็บไว้ด้วยควรทิ้งน้ำนมที่นำมาอุ่นให้ร้อนแล้วแต่ไม่ได้ใช้
อายุการเก็บน้ำนมแม่โดยประมาณ:
- เก็บในอุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิ>25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ ประมาณ 1 ชั่วโมง
- เก็บในอุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิ<25 องศาเซลเซียส) เก็บได้ ประมาณ 4 ชั่วโมง
- เก็บในกระติกน้ำแข็ง (ที่มีน้ำแข็งตลอดเวลา < 15 องศาเซลเซียส) เก็บได้ประมาณ 1 วัน
- เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดาชั้นบนสุด (อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลซียส ) เก็บได้ประมาณ 1-3 วัน
- เก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบประตูเดียว ) เก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์
- เก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็ง (แบบ 2 ประตู) เก็บได้นานประมาณ 3 เดือน
- เก็บในตู้เย็นชนิดเย็นจัด (อุณหภูมิ -19 องศาเซลเซียส) เก็บได้นานประมาณ 6-12 เดือน
การละลายน้ำนมแม่ที่แช่แข็ง ให้นำถุงน้ำนมออกมาวางนอกตู้เย็น ทิ้งให้หายเย็น หากรีบใช้ ให้แช่ในภาชนะใส่น้ำอุ่น เพื่อให้หายเย็น ห้ามใช้น้ำร้อน เครื่องอุ่นนม หรือไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำลายสารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมแม่ไป เมื่อนมละลายหมดแล้ว ตรวจดูอุณหภูมิก่อนให้ลูกกินและใช้ให้เร็วที่สุด