ปั๊มนมแม่แล้ว...เก็บอย่างไร ใช้อย่างไรนะ
นอกจากวิธีการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านอยากทราบแล้ว ขั้นตอนหลังจากปั๊มนมมาได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ คุณแม่ควรเก็บรักษาอย่างไร เพื่อคงคุณค่าของน้ำนมไว้ได้อย่างดีที่สุด และนอกจากนั้น คุณแม่จะทำการละลายน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้อย่างถูกต้องได้อย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
เก็บนมแม่ที่ไหน
สิ่งสำคัญที่สุดคือภาชนะต้องสะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ โดยรูปแบบภาชนะอาจเป็นขวดพลาสติก หรือถุงพลาสติกพิเศษสำหรับเก็บน้ำนมแม่ก็ได้ค่ะ
เก็บนมแม่ได้นานแค่ไหน
อุณหภูมิของที่เก็บจะเป็นปัจจัยหลักที่จะตอบคำถามคาใจของคุณแม่คำถามนี้ค่ะ
สถานที่เก็บน้ำนม |
เก็บได้นาน |
อุณหภูมิห้อง |
1 ชั่วโมง |
ตู้เย็น |
5 วัน |
ช่องแช่แข็งของตู้เย็น |
2 สัปดาห์ |
ตู้แช่หรือห้องเย็น |
6-12 เดือน |
ที่จริงแล้วการแช่แข็งไว้นานๆ อาจจะมีการสูญเสียแอนติบอดี้บางส่วนในน้ำนมแม่นะคะ ถ้าเป็นไปได้ น้ำนมที่สดใหม่ที่สุด จะดีที่สุดเลยค่ะ
ในกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องเก็บน้ำนมแช่แข็งไว้ เราขอแนะนำวิธีละลายน้ำนมซึ่งมีหลากหลายวิธี ดังนี้ค่ะ
-
แช่ขวดหรือถุงบรรจุน้ำนมแช่แข็งในชามน้ำอุ่น
-
ถือขวดหรือถุงบรรจุน้ำนมแช่แข็งไว้ เปิดให้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 10 นาที
-
ละลายน้ำแข็ง โดยทิ้งในตู้เย็นข้ามคืน
ข้อห้ามการเก็บนมแม่
อย่าต้มหรือทำให้ร้อนด้วยเตาไมโครเวฟเด็ดขาดนะคะ เนื่องจากสารอาหารบางส่วนจะถูกทำลายค่ะ
ต้องทิ้งน้ำนมที่ปั๊มมาแล้วป้อนลูกไม่หมดไปเลยนะคะ อย่าเสียดาย ไม่ควรเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกกินในครั้งต่อไปนะคะ เนื่องจากอาจมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้ลูกน้อยป่วยได้ค่ะ
ที่มา – Academy of Breastfeeding Medicine (2004)