พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน
เมื่อลูกเปลี่ยนจากวัยคลานมาเป็นวัยหัดเดิน
เป็นช่วงที่เขามีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจอย่างเต็มเปี่ยม
สมองของลูกพร้อมรับการพัฒนาที่เพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อให้ลูกเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ที่สุด
อาหารหลัก 5
หมู่จึงเป็นสิ่งจำเป็น
ทำไม
อาหารของลูกวัยหัดเดินจึงต่างจากของผู้ใหญ่?
อาหารของเด็กจะต่างจากของผู้ใหญ่เป็นอย่างมากเพราะความต้องการสารอาหารแตกต่างกัน
คุณแม่จึงควรใส่ใจกับความแตกต่างเหล่านี้เมื่อวางแผนมื้ออาหารให้ลูกน้อย
น้ำตาลและเกลือ
-ลูกวัยหัดเดินควรได้รับเกลือไม่เกิน
1/6
ของปริมาณสูงสุดที่ผู้ใหญ่ได้รับหรือน้อยกว่า
1
กรัมต่อวัน
ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรใส่เกลือลงในอาหารที่ทำ
และอาหารผู้ใหญ่บางชนิดก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้
เนื่องจากมีน้ำตาลหรือเกลือมากเกินไปรวมทั้งมีสารปรุงแต่งสีและรส
ปริมาณที่เหมาะสม
-
กระเพาะอาหารของเด็กจะมีขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่ประมาณ
5 เท่า
จึงต้องการอาหารปริมาณน้อยๆ
ในแต่ละมื้อแต่บ่อยครั้ง
โดยมีพลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วน
ดังนั้น เด็กวัยนี้จึงต้องกินอาหารมื้อเล็กๆ
3
มื้อต่อวัน
พร้อมอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการระหว่างมื้ออย่างสม่ำเสมอ
ความต้องการพลังงานและสารอาหาร
–
ลูกวัยหัดเดินต้องการอาหารที่มีไขมันสูงและใยอาหารต่ำ
ใยอาหารจะเป็นสิ่งดีแต่ก็ทำให้อิ่มท้อง
การกินมากเกินไปอาจทำให้ลูกได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นไม่เต็มที่
อาหารแต่ละชนิดจะมีสารอาหารต่างกัน
ดังนั้น
จึงควรให้ลูกกินอาหารหลากหลายชนิดให้ได้ครบถ้วนทั้ง
5 หมู่
เพื่อให้เติบโตและมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
นม
-
นมยังคงเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กวัยหัดเดิน
เพราะมีสารอาหารครบถ้วน
โดยควรกินนมประมาณ 20
ออนซ์ต่อวัน
อาหาร
หลัก 5
หมู่คืออะไร
คาร์โบไฮเดรต
อาหารจำพวกแป้ง
เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช
และมันฝรั่ง
คุณสามารถให้ลูกกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทุกมื้อและกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ย่อมได้
ผักและผลไม้
เช่น
แครอท กล้วย และมะเขือเทศ
คุณแม่ต้องพยายามให้ลูกกินผักและผลไม้หลากสีเพราะมีสารอาหารต่างชนิด
และควรเน้นให้ลูกกินผักและผลไม้
อย่างน้อย 5
ส่วนต่อวัน
แต่คุณแม่ควรทราบไว้ด้วยว่า
“ส่วน” ของเด็กวัยนี้จะน้อยกว่า
“ส่วน” ของผู้ใหญ่
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
นม
ชีส และโยเกิร์ต
ควรให้เด็กวัยหัดเดินกินนมทุกวัน
แต่คุณแม่ต้องให้ลูกกินอาหารชนิดอื่นที่ทำจากนม
ที่อุดมไปด้วยแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
ลูกน้อยในวัยนี้ควรกินอาหารที่ทำจากนม
3
ส่วนต่อวัน
โดยอาจกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ได้
โปรตีน
เช่น
เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ และถั่วชนิดต่างๆ
อาหารในกลุ่มนี้มีธาตุเหล็กและไขมันโอเมก้า
3
ซึ่งจำคุณสามารถให้ลูกกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทุกมื้อและกินเป็นอาหารว่าง
ผักและผลไม้
ควรให้ลูกกินผักและผลไม้หลากสีเพราะมีสารอาหารต่างชนิด
และเน้นให้ลูกกินผักและผลไม้
อย่างน้อย 5
ส่วนต่อวัน
(“ส่วน”
ของเด็กวัยนี้จะน้อยกว่า
“ส่วน” ของผู้ใหญ่)
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
นม
ชีส และโยเกิร์ต
ควรให้ลูกกินนมทุกวัน
รวมถึงอาหารชนิดอื่นที่ทำจากนมที่อุดมไปด้วยแคลเซียมควบคู่ไปด้วย
ลูกน้อยในวัยนี้ควรกินอาหารที่ทำจากนม
3
ส่วนต่อวัน
โดยอาจกินเป็นอาหารว่างด้วยก็ได้
โปรตีน
เนื้อสัตว์
ปลา ไข่ และถั่วชนิดต่างๆ
ควรให้ลูกกินอาหารโปรตีนวันละ
2 ครั้ง
เด็กที่กินมังสวิรัติควรกินอาหารโปรตีนร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีวิตามินซีสูงเพื่อช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก
ไขมันและน้ำตาล
เช่น
น้ำมัน เนย ขนมเค้ก และบิสกิต
น้ำมันบางชนิดมีไขมันโอเมก้า
3 และ
6
ควรให้ลูกกินอาหารกลุ่มนี้ด้วย
อาหารที่ลูกต้องหลีกเลี่ยง
ควรหลีกเลี่ยงการใส่เกลือหรือใส่ให้น้อยที่สุด
ตรวจสอบปริมาณเกลือที่ใช้ในอาหารสำเร็จรูปด้วย
ควรหลีกเลี่ยงสารเติมแต่งและสารให้ความหวาน
เช่น ที่พบในเครื่องดื่มและลูกอม
ไข่และอาหารทะเลชนิดมีเปลือกมีผลต่อกระเพาะอันบอบบาง
และอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้หากปรุงไม่เหมาะสม
ดังนั้น คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
ผลไม้เปลือกแข็งและถั่ว
แม้ว่าจะไม่มีผลเสียต่อร่างกายแต่เด็กบางคนก็แพ้อาหารชนิดนี้และมีปฏิกิริยารุนแรง
สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการแพ้ก็อาจสำลักได้
ทางที่ดีจึงควรเก็บให้พ้นมือเด็ก